25/11/55

มาทำความรู้จักกับบาลีบทนี้กัน


            ก็มีไม่น้อยคนที่เคยไปทำธุรกรรมที่อำเภอ,สมัครงาน,ส่งชื่อสอบ,ส่งเรื่องทำวีซ่า และอื่น ๆ แล้วพบกับปัญหาเกี่ยวกับชื่อ นามสกุล ของตน หรือแม้แต่ฉายาของพระ  ข้าพเจ้าเองก็ประสบกับปัญหานี้มาแล้ว
 
            ข้าพเจ้าทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหานี้ของบางท่านบางครอบครัวมาบ้างผ่านทางหนังสือพิมพ์,ทีวีก็มี  มีครั้งหนึ่ง ทางทีวีช่องหนึ่ง รายการหนึ่ง มีช่วงหนึ่ง แขกที่ได้รับเชิญมาพูดถึงนามสกุลของตัวเองว่าแต่เดิมแล้วไม่ได้ชื่อนี้ ที่เป็นอย่างนี้เกิดจากความผิดพลาดทางเจ้าหน้าที่ทะเบียนอำเภอเขียนเพี้ยนไป แต่ก็ไม่ได้แก้ไข พึ่งได้สังเกตและทราบภายหลัง เลยจำต้องใช้นามสกุลที่เพี้ยนไปจากเดิม กว่าจะลงตัวก็ใช้เวลานะ นี่คือปัญหาที่สร้างความยุ่งยากไม่น้อยเลย  เหมือนอย่างที่สหธรรมิกที่รู้จักมักคุ้นกับข้าพเจ้าหลาย ๆ ท่านและตัวข้าพเจ้าเองก็เจอปัญหานี้มาทั้งนั้น ส่งชื่อลงสอบ สอบผ่าน อ้าว! นามสกุล ถูกเปลี่ยนอักษรบ้าง ถูกเติมการันต์บ้าง  ฉายา ถูกเติมตัวอักษรเพิ่มบ้างถูกเปลี่ยนตัวอักษรบ้าง อย่างฉายาบทนี้ จิตคุโณ (อ่านว่า จิตะคุโณ)เคยถูกเปลี่ยนอักษรและเพิ่มอักษรอยู่บ่อยครั้งตอนเมื่อส่งรายชื่อเข้าสอบ หรือทำธุรกรรมอย่างอื่น

            หลาย ๆ ท่าน แม้แต่พระมหาเปรียญก็ยังนึกไม่ถึงศัพท์นี้ จิตะ ส่วนมากเข้าใจไปว่าเป็นศัพท์นามคือ จิต (ใจ,สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด นึก) เมื่อพิมพ์ฉายาเลยเพิ่ม ต มาอีกตัวเสียนี่ (คำว่า จิต ที่เป็นนามในภาษาบาลีใช้ ต สองตัว)  ศัพท์ จิตะ นี้ เป็นกิริยา รากศัพท์มาจาก จิ ธาตุในความสั่งสม ประกอบด้วย ต ปัจจัยกิริยากิตก์ เมื่อนำสองคำมารวมกันคือ จิตคุโณ แปลว่า ผู้มีความดีสั่งสมไว้แล้ว บางครั้งก็ถูกเปลี่ยนจาก จ เป็น ฐ ก็มี ด้วยเข้าใจว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ ๆ เช่น ฐิตคุโณ ผู้มีคุณตั้งอยู่แล้ว แปลเอาใจความก็ ผู้ดำรงอยู่ในความดี   ขอทวนให้ทราบอีกครั้งว่า จิต ในคำว่า จิตคุโณ นี้แปลว่า สั่งสม  เป็นกิริยาตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีท่านทั้งหลาย  นี้จึงเป็นที่มาให้ข้าพเจ้าได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาทางภาษาบาลีได้รู้และเข้าใจได้บ้าง  และเป็นการทบทวนสำหรับผู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว



รุ่งอรุณ ณ คงคานที เมืองพาราณสี อินเดีย


0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุดจากผู้เข้าเยี่ยมชม

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger