9/11/55

กรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ


ศัพท์
            คำว่า "กรวด" ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคือการหลั่งน้ำ คำนี้แผลงมาจากคำว่า "จฺรวจ" ซึ่งเป็นภาษาเขมร  ฉะนั้น กรวดน้ำ คือการแผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ

            ชาวพุทธเมื่อทำบุญกับพระในพุทธศาสนาด้วยการถวายปัจจัยสี่ มีถวายเคื่องนุ่งห่ม(ผ้าไตรจีวร),
ใส่บาตร เป็นต้น  หรือในงานบุญพิธีอื่น ๆ มักจะกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ แบ่งปันส่วนบุญที่ตนเองมีอยู่นั้นไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับดับไปด้วยการกรวดน้ำ   เรื่องนี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล  มีพระเจ้าพิมพิสาร ราชาผู้ปกครองมคธรัฐได้แสดงเป็นแบบอย่างไว้  คือได้ทรงบำเพ็ญบุญเลี้ยงพระสงฆ์หมู่ใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วอุทิศบุญนั้นไปให้เหล่าเปรตพระญาติ     แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้ถล่าวถึงพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำอุทิศให้  แต่ปรากฎในเรื่องของการถวายสวนเวฬุวันของพระองค์  แก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อเป็นอาราม

พระเจ้าพิมพิสารบรรลุธรรม
            หลังจากพระเจ้าพิมพิสาร ราชาผู้ปกครองแคว้นมคธฟังอนุปุพพิกถา คือพรรณาถึงการบำเพ็ญบารมีตามลำดับขั้นตอน จากพระบรมศาสดา ดังนี้
     1. ทานกถา ตรัสถึงเรื่องทาน
     2. สีลกถา ตรัสถึงเรื่องศีล
     3. สัคคกถา ตรัสถึงเรื่องสวรรค์
     4. กามาทีนวกถา ตรัสถึงโทษของการเสพกาม (กามคุณ 5 ติดรูป,เสียง,กลิ่น,รส,ติดการสัมผัส)
     5. เนกขัมมานิสังสกถา ตรัสถึงอานิสงส์การออกบวชประพฤติพรหมจรรย์
แล้วได้มีจิตอ่อนโยน เบิกบาน ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ เหมาะแก่การจะสดับธรรมต่อไป พระพุทธองค์จึง
ได้ตรัสอริยสัจ 4 ประการโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น
คือโสดาปัตติผล พร้อมกับบริวารเป็นจำนวนมาก   ส่วนผู้ที่ไม่บรรลุก็ได้แสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพุทธศาสนา

วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
            หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว      ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนักพระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ  เปรียบเสมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง  หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีตาดีจักมองเห็นรูป  ดังนี้แล้วได้ปวารณาตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วได้อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปสู่พระราชนิเวสน์ในกรุงราชคฤห์  (เมืองหลวงของรัฐมคธ)เพื่อบำเพ็ญทานบารมี ในวันรุ่งขึ้น

            เช้าวันต่อมา    พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ราว 1,000 รูป ล้วนเคยเป็นชฎิล (นักบวชนอกศาสนา หรือฤษีสามพี่น้อง คือ
อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ มีบริวารรวมกันได้ 1,000) มาก่อน    พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐได้ทรงอังคาสพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  ด้วยภัตตาหารอันประณีต  เสร็จแล้วท้าวเธอทรงดำริว่า "พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนหนอ ซึ่งเป็นที่ ๆ ไม่ไกลไม่ใกล้หมู่บ้านนัก  คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนสงัด"   ได้ทรงเห็นอุทยานเวฬุวัน (สวนไผ่)ของพระองค์นั้นเหมาะสมเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาและหมู่สงฆ์  จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร(หม้อน้ำทองคำ รูปทรงเหมือนลูกน้ำเต้า) ทรงหลั่งน้ำน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า  "หม่อมฉันขอถวายอุทยานเวฬุวันนั้นแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระพุทธเจ้าข้า"  พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว ได้ตรัสธรรมีกถา เพื่อให้พระเจ้าพิมพิสารอาจหาญ ร่าเริงบันเทิงใจ แล้วเสด็จกลับ แต่นั้นมาพระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมีที่อาศัยบำเพ็ญสมณกิจ นั้นคืออารามหรือวัด ฉะนั้นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนาคือ เวฬุวันวิหาร  เขตกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธในสมัยนั้น
ภาพที่ปรากฎด้านบนคือภาพภายในบริเวณเวฬุวันวิหาร มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใกล้ประตูทางเข้าออก
ภาพที่ 2 เป็นพระพุทธรูปประทับยืนบริเวณกลางแจ้ง เป็นตำแหน่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิ-
โมกข์แก่พระขีณาสพ 1250 รูป เป็นที่มาของวันสำคัญทางศาสนาอีกวันหนึ่งนั้นคือ วันมาฆะบูชา ภายใน
บริเวณมีต้นไม้หลากหลายชนิด มีก่อไผ่อยู่บ้างเป็นบางจุด  พื้นที่กว้างขวาง ข้าพเจ้าไม่สามารถเดินดูได้
ทั้งหมดเนื่องจากมีเวลาจำกัด ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555

เสียงเตือน
            หลังจากพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  ยอมรับนับถือพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต ต่อมาคืนวันหนึ่ง พระองค์ทรงบรรทมอยู่ ได้ยินเสียงอันโหยหวน
น่ากลัวในราชนิเวสน์ ยังความปริวิตกให้เกิดกับพระองค์
            เช้าวันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามถึงเรื่องนั้น  สมเด็จพระโลก-
นาถจึงได้ตรัสกับพระเจ้าพิมพิสารว่าเสียงนั้นคือเสียงของเหล่าเปรตซึ่งเป็นญาติของพระองค์  ที่เคยทำ
อกุศลกรรมไว้ในชาติก่อน ๆ   ตายไปรับผลกรรมในนรกแล้วมาเกิดเป็น ปรทัตตูปชีวีเปรต เปรตจำพวกที่ไม่มีอะไรเป็นอาหารเพื่อดำรงสภาพอยู่ นอกจากผลบุญที่ญาติ ๆ แผ่อุทิศไปให้  ทุกครั้งที่พระองค์ได้ทรง
บำเพ็ญบุญถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วไม่ได้ระลึกถึงญาติ ๆ  ซึ่งรอผลบุญจากพระองค์มาเป็นเวลาช้านาน
หลายพุทธันดร  จึงส่งเสียงร้องเช่นนี้

บุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุดจากผู้เข้าเยี่ยมชม

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger