30/1/55

คำถวายสังฆทาน (รูปแบบสากล ที่นิยมใช้โดยทั่วไป)

       การถวายของที่เหมาะแก่สมณสารูป (สมควร เหมาะสมแก่สมณะ)   แก่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนา   มี 2 ประเภท คือ
        1. บุคลิกทาน ทานที่ทายก ทายิกา (ผู้ให้) ถวายจำเพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่ตนปรารถนา         นี้จัดเป็นบุคลิกทาน
       2. สังฆทาน คือทานที่ทายก ทายิกา ถวายแก่สงฆ์ แก่คณะ (4รูปขึ้นไปนับเป็นสงฆ์ หรือนิมนต์ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง รับแทนสงฆ์ก็ใช้ได้เหมือนกัน) โดยไม่จำเพาะเจาะจงกับภิกษุรูปใด นี้จัดเป็นสังฆทาน
        ในบรรดาทาน 2 อย่างนั้น     สังฆทาน พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีผลานิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน   เพราะมีผลจากการใช้ประโยชน์จากของสิ่งนั้น จากของเหล่านั้น กว้างกว่า แผ่ไพศาลมากกว่า เปรียบเหมือนทรัพย์สินของทางการที่มีไว้เพื่อบริการสาธารณชน ย่อมจะมีผล หรือเป็นประโยชน์มากกว่า ๆ ทรัพย์สินของปัจเจกชน หรือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่มีไว้ใช้เพื่อคน ๆ หนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง อย่างนั้น.  ของเช่นไรจัดเป็นสังฆทาน ข้าวหม้อแกงหม้อ ที่นำไปถวายแก่สงฆ์ นี้จัดเป็นสังฆทาน     น้ำเปล่าประเภทน้ำดื่มแค่อย่างเดียวที่นำไปถวายแก่สงฆ์ นี้ก็จัดเป็นสังฆทาน สิ่งของที่พระจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาขจัดรังแค ทำความสะอาดศีรษะ ผงซักฟอก เป็นต้น เมื่อนำไปถวายแก่สงฆ์ นี้ก็จัดเป็นสังฆทาน  คำว่าสังฆทานไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งของที่อยู่ในถังเหลือง ๆ หรือบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ที่ผู้ค้าได้จัดเตรียมไว้ แต่ขึ้นอยู่กับการนำสิ่งของนั้น หรือสิ่งของเหล่านั้น ไปถวายในนามสงฆ์นั่นเอง.
            คำกล่าวถวายสังฆทานภาษาบาลี
          อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
            คำแปลไทย (ได้ขัดเกลาใหม่ เพื่อให้เนื้อหาสั้นกะทัดรัด และง่ายต่อการออกเสียง)
          ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายภัตตาหาร พร้อมด้วยบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ ได้โปรดรับ ภัตตาหารพร้อมด้วยบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.
          คำขีดเส้นใต้ คือสิ่งของที่เป็นอาหาร แต่ถ้าไม่ใช่อาหาร หากมีผ้าไตรจีวร หรือยา เป็นต้น เป็นหนึ่งในจำนวนสิ่งของที่นำไปถวาย ก็ยกผ้าไตร หรือยาเป็นตัวหลักในการกล่าว (ติจีวะรานิ ผ้าไตรจีวร) (เภสัชชานิ ยารักษาโรค) (อุทะกานิ น้ำดื่ม) (ปะทีปะธูปานิ เทียนและธูป) นำคำในวงเล็บแทนคำขีดเส้นใต้ได้เลย สิ่งของที่เหลืออย่างอื่นก็จะเป็นบริวารไปในตัว. หากไม่ถนัดภาษาบาลี ก็ใช้ภาษาไทยได้ตามสะดวก จะว่าเป็นรูปแบบอย่างที่ได้กล่าวไว้ด้านบน หรือจะกล่าวความประสงค์ง่าย ๆ ว่าขอถวายของสิ่งนี้ ๆ แก่สงฆ์  เพียงเท่านี้ก็จัดว่าเป็นการถวายสังฆทานโดยสมบูรณ์ แล.

อีกอย่าง ขอชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำถวายสังฆทานที่ว่า สังฆะทานานิ ได้เห็นและได้ยินมาพักหนึ่งแล้ว มีผู้ใช้ว่า อิมานิ มะยัง ภันเต สังฆะทานานิ ...................คำ ๆ นี้แปลว่า ให้แก่สงฆ์,ถวายแก่สงฆ์  มันไม่ได้เป็นชื่อของวัตถุที่จะถวาย  จะขอแปลให้ดู ลองพิจารณาดูนะ  "ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายการให้แก่สงฆ์ พร้อมด้วยบริวารเหล่านี้......................"  ถวายการให้แก่สงฆ์มันคืออะไร แปลแล้วงง  ไม่ได้ความหมายที่ถูกต้อง   คาดว่าคำนี้เกิดจากความไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วมักง่ายไปบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ใหม่ ตอนนี้เริ่มแพร่หลาย คิดว่าพวกท่านก็คงได้เห็นได้ยินเหมือน ๆ กับข้าพเจ้า   ถ้าได้ยกบาลีขึ้นมากล่าวก็ควรใช้ศัพท์ให้ถูกต้องเพื่อเป็นหลักเป็นแบบแผนที่ดีให้ได้ยึดถือกัน   เราท่านทั้งหลายควรคำนึงถึงข้อนี้ 

ประเคน  

23/1/55

งานปรับปรุง ซ่อมแซม



          ระหว่างวันที่ 14-22 มกราคม 2555 ได้มีโอกาสไปต่อเติม ซ่อมแซมกุฏิไม้ ณ ที่พักสงฆ์คลองพวา ต. ท่ากระดาน อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหลังที่พระอาจารย์ วีระ กิจจะกาโร ได้พาญาติโยมชาวบ้านคลองพวา รื้อจากหลังเก่าที่ได้สร้างไว้เมื่อร่วม 20 ปีที่แล้วมาสร้างใหม่ (รื้อต้นปี 54 ที่ผ่านมา) สภาพไม้ยังสมบูรณ์ แต่สังกะสีเก่า ใช้การได้ไม่ดีพอ เป็นเหตุให้ผู้เขียนเองได้ปรารภที่จะช่วยชาวบ้านและทางวัดอีกแรงหนึ่ง จึงได้ต่อเติม ซ่อมแซมใหม่ โดยการเปลี่ยนจากสังกะสีมาเป็นกระเบื้อง และทาสีใหม่ทั้งหลัง ค่าวัสดุอุปกรณ์ 18,624 บาท และค่าช่าง 7,400 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 26,224 บาท.
       ในการนี้ คือในส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามที่กล่าวมา ได้มีส่วนของคณะศรัทธาญาติโยมในกรุงเทพฯ ที่รู้ข่าวร่วมด้วย โดยการนำของคุณดา บอกคนใกล้ชิดและผู้ที่รู้จัก ร่วมกันบริจาคปัจจัยสมทบเป็นจำนวน 5,200 บาทถ้วน ทั้งที่ผู้เขียนเองก็ไม่เคยเอ่ยปากบอกบุญเลย ถือว่าปัจจัยส่วนนี้เป็นส่วนที่บริสุทธิ์และมาจากศรัทธาจริง ๆ  จึงขอขอบคุณ อนุโมทนาสาธุการมา ณ ที่นี้ด้วย.

ช่างทั้งหมด 4 คน
 เริ่มต้นรื้อหลังคาสังกะสี วันอังคารที่ 17 มกราคม
 อีกด้านของกุฏิ
อีกมุมมองหนึ่ง
มุมมองแนวตรงระยะไกล
กำลังมุงกระเบื้องหลังคา
หลังจากมุงฝั่งโน้นเสร็จก็รื้อสังกะสีอีกฝัง
หลังจากมุงหลังคาได้ประมาณ 95% แล้ว ก็เริ่มทาสีรองพื้น
มุงกระเบื้องและทาสี 3 รอบเสร็จสมบูรณ์ (ใช้เวลา 5 วัน เนื่องจากต้องแก้ไขโครงสร้างไม้บางส่วนให้เข้ากับกระเบื้อง)
 อีกมุมมองหนึ่ง
พระอาจารย์ วีระ กิจจะกาโร กับกุฏิที่ปรับปรุงใหม่
อีกมุมหนึ่ง
ศาลาและกุฏิที่ปรับปรุงใหม่จะอยู่ด้านใต้สุดของวัด
กุฏิหลังนี้ที่ผู้เขียนได้สร้างไว้เมื่อกลางปี 2544 จะอยู่ด้านเหนือเกือบสุดของวัด












ความคิดเห็นล่าสุดจากผู้เข้าเยี่ยมชม

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger