21/7/57

ผลสอบ ป.ธ. 9 ผ่าน 26 รูป ประจำปี 2557



       ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวงประจำปี 57 เณรสอบได้ป.ธ.9 รวม 4 รูป พระสงฆ์ 22 รูป จากผู้เข้าสอบ 300 รูป น้อยกว่าปี 56 "วัดเทพลีลา-สามพระยา-สร้อยทอง" ครองแชมป์ร่วม สอบได้วัดละ 2 รูป "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" พอใจผลสอบ แม้สอบได้น้อยลง แต่ภาพรวม มีผู้สอบได้จากทุกประโยคเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 รูป...

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวง เดินทางมาเป็นประธานในการประกาศผลสอบประโยคบาลีสนามหลวง ระดับชั้นประโยค เปรียญธรรม(ป.ธ.) 7 - 9 ที่ศาลาอบรมสงฆ์ วัดสามพระยา กรุงเทพฯ โดยมีพระภิกษุสามเณร เจ้าสำนักเรียนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รอฟังการประกาศผลสอบอย่างใจจดใจจ่อจนเต็มศาลาอบรมสงฆ์ โดยการประกาศผลสอบ จะใช้วิธีการอ่านรายชื่อพระภิกษุ สามเณรที่สอบผ่านทีละรายชื่อ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่อดีต

สำหรับการประกาศผลสอบบาลีสนามหลวงในปี 2557 นี้ เริ่มขึ้นในเวลา 14.00 น. ภายหลังที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กล่าวอนุโมทนาคณะกรรมการตรวจข้อสอบเสร็จแล้ว พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ประกาศรายชื่อพระภิกษุ สามเณรที่สอบได้ในชั้นประโยคป.ธ.7 จำนวน 120 รูป จากนั้นพระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในฐานะเลขานุการแม่กองบาลีฯ ประกาศรายชื่อพระภิกษุ สามเณรที่สอบได้ชั้นประโยคป.ธ. 8 จำนวน 84 รูป

มีรายงานว่า หลังจากการประกาศรายชื่อพระภิกษุ สามเณรที่สอบได้ชั้นประโยคป.ธ. 8 เสร็จแล้ว ช่วงเวลาที่พระภิกษุ สามเณรทั่วประเทศรอคอยก็มาถึง เมื่อพระพรหมโมลี เริ่มประกาศสถิติของพระภุิกษุ สามเณรที่สอบได้ชั้นประโยคป.ธ.9 ว่ามีผู้ที่สอบได้ 26 รูป คิดเป็นร้อยละ 8.67 จากผู้ที่เข้าสอบ 300 รูป ซึ่งในจำนวนของผู้ที่สอบได้ เป็นสามเณร 4 รูป ทำให้เกิดเสียงฮือฮาขึ้นในหมู่เจ้าสำนักเรียนที่ต่างมารอฟังผลสอบ เพราะมีจำนวนผู้ที่สอบได้น้อยลงมาก เนื่องจากปี 2556 มีผู้สอบได้ชั้นประโยค ป.ธ. 9 มากถึง 65 รูป

จากนั้นพระพรหมโมลี ได้ประกาศรายชื่อพระภิกษุ สามเณรที่สอบได้ชั้นประโยคป.ธ.9 ประจำปี 2557 ทีละรายชื่อ ประกอบด้วย
1.พระมหาบรรลือ ฐานธมฺโม วัดเทพลีลา
2.พระมหากิตติพจน์ อติเตโช วัดเทพลีลา
3.พระมหาธนิษฐ์ วชิรพุทฺธิ วัดนรนาถสุนทริการาม
4.พระมหากวี สิปฺปกวินฺโท วัดราชาธิวาส
5.พระมหากฤตชญา สุภาจาโร วัดสร้อยทอง
6.สามเณรปรเมศวร์ ประพิณ วัดสร้อยทอง
7.พระมหาถนอม ชยนฺโต วัดสามพระยา
8.พระมหาประภาส โชติเมธี วัดสามพระยา
9.พระมหาเอกพงษ์ ปิยทสฺสี วัดสุทัศนเทพวราราม
10.พระมหาเอกชัย อภิภทฺโท วัดเสมียนนารี
11.พระมหาเอกชัย อุปวฑฺฒโน วัดหัวลำโพง
12.พระมหาหลาวทอง อุตฺตมจิตฺโต วัดนวลจันทร์
13.พระมหานพพร อริยญาโณ วัดอรุณราชวราราม
14.พระมหาสมชัย สญฺชโย วัดบางไผ่ จ.นนทบุรี
15.พระมหาสุทธินารถ ญาณชโย วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
16.พระมหาโอภาศ ฐานธมฺโม วัดศิริเสาธง จ.สมุทรปราการ
17.สามเณรปิยะนันท์ ใจซื่อ วัดชูจิตธรรมาราม (ธ) จ.พระนครศรีอยุธยา
18.พระมหาวิเชียร ชาตวชิโร วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี
19.พระมหาสุรพงษ์ มหาวีโร วัดหัวช้าง จ.ลพบุรี
20.พระมหานที อิสฺสริโยภาโส วัดจองคำ จ.ลำปาง
21.สามเณรจุมพล สุยะต๊ะ วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา
22.พระมหาวรพงษ์ วรวํโส วัดป่าดาราภิรมย์ (ธ) จ.เชียงใหม่
23.สามเณรธีระศักดิ์ โสมสุด วัดไร่เกาะต้นสำโรง จ.นครปฐม
24.พระเกริกสัน ป. ญาณสมฺปนฺโน วัดไร่ขิง จ.นครปฐม
25.พระมหาประทีป อคฺคจิตฺโต วัดป้อมวิเชียรโชติการาม จ.สมุทรสาคร และ
26.พระมหานิกร ฐานุตฺตโร วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี

ทั้งนี้ จะมีการติดประกาศรายชื่อผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ประโยค 1-2 จนถึงประโยค ป.ธ.9 ที่วัดสามพระยา และวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ กล่าวว่า พอใจผลการสอบบาลีสนามหลวง แม้ชั้นประโยค ป.ธ. 9 จะได้ 26 รูป ซึ่งในปัจจุบันถือว่ามากแล้ว เนื่องจากในสมัยก่อนจะมีผู้สอบได้ชั้นประโยค ป.ธ.9 เพียง 3-5 รูปเท่านั้น นอกจากนี้โดยภาพรวมทุกประโยคพบว่า มีจำนวนผู้ที่สอบได้มากขึ้นกว่าปี 2556 โดยปี 2556 มีสถิติผู้ที่สอบได้ทุกประโยค 3,420 รูป แต่ปี 2557 มีผู้สอบได้ถึง 4,160 รูป.

4/4/56

ผลสอบบาลีประโยค 9 ผ่าน 65 รูป ประจำปี 56

 


ผลสอบบาลีประโยค 9 ได้ 65 รูปเณร 5  
ประกาศผลสอบบาลีประโยค 9 สอบได้ทั้งสิ้น 65 รูป เป็นสามเณร 5 รูป
        เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 1 เม.ย.2556 ที่วัดสามพระยา กรุงเทพฯ สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบประโยคบาลีสนามหลวง ประจำปี 2556 ตั้งแต่ระดับเปรียญธรรม ( ป.ธ.) 1-2 ถึง ป.ธ.9 โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวงเป็นประธาน ซึ่งบรรยากาศทั่วไปเป็นไปด้วยความคึกคัก มีพระภิกษุและสามเณรจากวัดต่างๆ รวมไปถึงญาติพี่น้องและคณะศิษยานุศิษย์มาร่วมรอฟังผลสอบด้วยใจระทึกเป็นจำนวนมาก
           จากนั้น พระพรหมโมลี เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง กล่าวประกาศรายชื่อผู้สอบได้ประโยคบาลีสนามหลวง ป.ธ.9 โดยในปีนี้มีพระสงฆ์สอบได้ 60 รูป สามเณร 5 รูป รวม 65 รูป  ดังนี้
1.พระมหาจำนงค์ อินฺทปญฺโญ     วัดชนะสงคราม
2.พระมหาจงยุทธ กิตฺติยุตฺโต       วัดชนะสงคราม
3.พระมหากำพล ฐานเปโม           วัดเทพธิดาราม
4.พระมหาปรีชา วฑฺฒนชโย         วัดเทพศิรินทราวาส
5.พระมหาวิรัตน์  สุมงฺคโล            วัดเทพลีลา
6.พระมหาบุญกว้าง คุตฺตวณฺโณ   วัดเทพลีลา
7.พระมหาสุแพง กนฺตจาโร           วัดเทพลีลา
8.พระมหาสุขุม อุตฺตโม                วัดเทพลีลา
9.พระมหายุทธพงษ์ ธีรปญฺญวา   วัดเทพลีลา
10.สามเณรไกรสิทธิ์ ลีปัสสา        วัดเทพลีลา
11.พระมหานิยม ญาณวีโร            วัดธาตุทอง
12.สามเณรอนุวัฒน์ คำโพนรัตน์  วัดธาตุทอง
13.พระมหาไพโรจน์ ปภสฺสโร       วัดบพิตรพิมุข
14.พระมหาทองสืบ เขมปญฺโญ    วัดบรมนิวาส
15.พระมหาพิชิต  รตินฺธโร            วัดบางนา
16.พระมหาสุเนตร์  จตฺตมโล        วัดปทุมคงคา
17.พระมหาหยัด  จนฺโทภาโส       วัดพรหมวงศาราม
18.พระมหาอดิศักดิ์ อุปวฑฺฒโน   วัดพระเชตุพนฯ
19.พระมหาดวง  โชติญาโณ        วัดพระเชตุพนฯ
20.พระมหาสัญญา ขนฺติธมฺโม      วัดมหาธาตุ
21.พระมหาสมจิตร สุทฺธาชีวี        วัดสร้อยทอง
22.พระมหาอภิชัย ญาณวิชโย      วัดสระเกศ
23.พระมหาบรรยงค์  จนฺทเมธี      วัดสามพระยา
24.สามเณรอรรณ ใจอารีย์           วัดสามพระยา
25.พระมหาจำเริญ  สิริจนฺโท        วัดสามพระยา
26.พระมหาทินกร  ทีปนนฺโท        วัดเสมียนนารี
27.พระมหาสัญชัย  เตชสีโล         คณะเขตพระโขนง-บางนา
28 .พระมหาสมบูรณ์  ธมฺมทีโป      คณะเขตลาดพร้าว-บึงกุ่ม
29.พระมหาไพรัช     วิรโช            วัดปากน้ำ
30.พระมหาสำรวญ สีลสํวโร         วัดโมลีโลกยาราม
31.พระมหาจำลอง ธมฺมวโร          วัดโมลีโลกยาราม
32.พระมหาโอภาส  วรรํสี              วัดโมลีโลกยาราม
33.พระมหาสนธยา  วรรตฺติ            วัดโมลีโลกยาราม
34.พระมหาชูชาติ  จิรสุทฺโธ           วัดอรุณราชวราราม
35.พระมหาณัฐศักดิ์  เขมปญฺโญ   วัดอาวุธวิกสิตาราม
36.พระมหาสราวุธ  ญาณโสภโณ  วัดอาวุธวิกสิตาราม
37.พระมหาปิยณัฐ  ปิยชโย            วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
38.พระมหาอรรถชัย วรตฺถชโย       วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
39.พระมหาทวิช  ธีรชาโต              วัดเขียนเขตปทุมธานี
40.พระมหาวิเชฎ  อนุตฺตโร            วัดศรีวารีน้อย  สมุทรปราการ
41.พระมหาปกรณ์  ฐานุตฺตโม        วัดพนัญเชิง พระนครศรีอยุธยา
42.พระมหานิยม  หิริธมฺโม              วัดพนัญเชิง พระนครศรีอยุธยา
43.พระมหาอังคณา อินฺทวํโส        วัดศาลาปูน พระนครศรีอยุธยา
44.พระมหาสุภาพ ธมฺมเตโช          วัดพระพุทธบาท   สระบุรี
45.พระมหาอดิศักด์ กตปุญฺโญ       วัดพระพุทธบาทสระบุรี
46.พระมหายุทธนา  โสภณาจาโร   วัดจองคำ ลำปาง
47.สามเณรทนงศักดิ์ ตาดี              วัดจองคำ ลำปาง
48.พระมหาสมลักษณ์ คนฺธสาโร    วัดท่ามะโอ   ลำปาง
49.สามเณรธนวัฒน์    พุฒหอม      วัดพระธาตุศรีจอมทองฯ เชียงใหม่
50.พระมหาพรพล พทฺธธมฺโม         วัดชัยมงคล ชลบุรี
51.พระมหาณัฐพงศ์ ญาณาวุโธ      วัดชัยมงคล ชลบุรี
52.พระมหาสัญชัย สนฺตจิตฺโต         วัดสุทธิวารี จันทบุรี
53.พระมหาสมคิด  ยสพโล             วัดพระปฐมเจดีย์  นครปฐม
54.พระมหาณรงค์ ปญฺญาวชิโร       วัดพระประโทณเจดีย์  นครปฐม
55.พระมหาอรรถพงษ์  สิริโสภโณ  วัดพระประโทณเจดีย์ นครปฐม
56.พระมหาธเนศ จนฺทปญฺโญ         วัดปรีดาราม  นครปฐม
57.พระมหาสุธี  อาสโภ                   วัดเทียนดัด นครปฐม
58.พระมหาภูวนาท สุชาโต             วัดลานคา สุพรรณบุรี
59.พระมหาสันติ  โชติกโร               วัดราษฎร์ประชุมชนาราม กาญจนบุรี
60.พระมหาสายชล สนฺติกโร           วัดป้อมวิเชียรโชติการาม สมุทรสาคร
61.พระมหาอธิโชค   สุโชโต           วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ราชบุรี
62.พระมหาปรีชา ปริปุณฺโณ            วัดเกตการาม สมุทรสงคราม (ธ)
63.พระมหาวินัยจนฺทวํโส  จงรักษ์    วัดขันเงิน  ชุมพร
64.พระมหากิตติศักดิ์  โอภาโส        วัดบ้านส้อง สุราษฎร์ธานี
65.พระมหาจารัญ  พุทฺธปฺปิโย         วัดหาดใหญ่สิตาราม สงขลา

             สำหรับสำนักเรียนที่มีผู้สอบได้เป็นอันดับ 1 ได้แก่ สำนักเรียนวัดเทพลีลา สอบได้ 6 รูป อันดับ 2 วัดโมลีโลกยาราม สอบได้ 4 รูป อันดับ 3 ได้จำนวน 11 วัด อาทิ วัดสามพระยา วัดธาตุทอง วัดชนะสงคราม  ส่วนสถิติการเข้าสอบทุกระดับนั้น ป.ธ. 9 จำนวนผู้สอบ 322 รูป สอบได้ 65 รูป ป.ธ.8 ผู้สอบ 380 รูป สอบได้ 50 รูป ป.ธ.7 ผู้สอบ 514 รูป สอบได้ 166 รูป ป.ธ. 6 ผู้สอบ 558 รูป สอบได้ 158 รูป ป.ธ.5 ผู้สอบ 911 รูป สอบได้ 148 รูป ป.ธ.4 ผู้สอบ 1,656 รูป สอบได้ 418 รูป ป.ธ.3 ผู้สอบ 3,637 รูป สอบได้ 530 รูป   ป.ธ.1-2 ผู้สอบ 14,876 รูป สอบได้ 1,885 รูป รวมจำนวนผู้สอบทั้งหมดตั้งแต่ ป.ธ.1-2 ถึงป.ธ.9    22,853 รูป สอบได้รวมทั้งหมด 3,420 รูป อย่างไรก็ตาม สามเณรที่สอบ ป.ธ.9 ได้ทั้ง 5 รูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับเป็นนาคหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
      ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่  สำนักงานเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ  ตรวจสอบรายชื่อผู้ที่สอบผ่านได้ที่นี่

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก พระประยงค์ จิตฺตสํวโร วัดไทยกุสิณารา อินเดีย


ที่มา คม ชัด ลึก ออนไลน์


25/11/55

มาทำความรู้จักกับบาลีบทนี้กัน


            ก็มีไม่น้อยคนที่เคยไปทำธุรกรรมที่อำเภอ,สมัครงาน,ส่งชื่อสอบ,ส่งเรื่องทำวีซ่า และอื่น ๆ แล้วพบกับปัญหาเกี่ยวกับชื่อ นามสกุล ของตน หรือแม้แต่ฉายาของพระ  ข้าพเจ้าเองก็ประสบกับปัญหานี้มาแล้ว
 
            ข้าพเจ้าทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหานี้ของบางท่านบางครอบครัวมาบ้างผ่านทางหนังสือพิมพ์,ทีวีก็มี  มีครั้งหนึ่ง ทางทีวีช่องหนึ่ง รายการหนึ่ง มีช่วงหนึ่ง แขกที่ได้รับเชิญมาพูดถึงนามสกุลของตัวเองว่าแต่เดิมแล้วไม่ได้ชื่อนี้ ที่เป็นอย่างนี้เกิดจากความผิดพลาดทางเจ้าหน้าที่ทะเบียนอำเภอเขียนเพี้ยนไป แต่ก็ไม่ได้แก้ไข พึ่งได้สังเกตและทราบภายหลัง เลยจำต้องใช้นามสกุลที่เพี้ยนไปจากเดิม กว่าจะลงตัวก็ใช้เวลานะ นี่คือปัญหาที่สร้างความยุ่งยากไม่น้อยเลย  เหมือนอย่างที่สหธรรมิกที่รู้จักมักคุ้นกับข้าพเจ้าหลาย ๆ ท่านและตัวข้าพเจ้าเองก็เจอปัญหานี้มาทั้งนั้น ส่งชื่อลงสอบ สอบผ่าน อ้าว! นามสกุล ถูกเปลี่ยนอักษรบ้าง ถูกเติมการันต์บ้าง  ฉายา ถูกเติมตัวอักษรเพิ่มบ้างถูกเปลี่ยนตัวอักษรบ้าง อย่างฉายาบทนี้ จิตคุโณ (อ่านว่า จิตะคุโณ)เคยถูกเปลี่ยนอักษรและเพิ่มอักษรอยู่บ่อยครั้งตอนเมื่อส่งรายชื่อเข้าสอบ หรือทำธุรกรรมอย่างอื่น

            หลาย ๆ ท่าน แม้แต่พระมหาเปรียญก็ยังนึกไม่ถึงศัพท์นี้ จิตะ ส่วนมากเข้าใจไปว่าเป็นศัพท์นามคือ จิต (ใจ,สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด นึก) เมื่อพิมพ์ฉายาเลยเพิ่ม ต มาอีกตัวเสียนี่ (คำว่า จิต ที่เป็นนามในภาษาบาลีใช้ ต สองตัว)  ศัพท์ จิตะ นี้ เป็นกิริยา รากศัพท์มาจาก จิ ธาตุในความสั่งสม ประกอบด้วย ต ปัจจัยกิริยากิตก์ เมื่อนำสองคำมารวมกันคือ จิตคุโณ แปลว่า ผู้มีความดีสั่งสมไว้แล้ว บางครั้งก็ถูกเปลี่ยนจาก จ เป็น ฐ ก็มี ด้วยเข้าใจว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ ๆ เช่น ฐิตคุโณ ผู้มีคุณตั้งอยู่แล้ว แปลเอาใจความก็ ผู้ดำรงอยู่ในความดี   ขอทวนให้ทราบอีกครั้งว่า จิต ในคำว่า จิตคุโณ นี้แปลว่า สั่งสม  เป็นกิริยาตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีท่านทั้งหลาย  นี้จึงเป็นที่มาให้ข้าพเจ้าได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาทางภาษาบาลีได้รู้และเข้าใจได้บ้าง  และเป็นการทบทวนสำหรับผู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว



รุ่งอรุณ ณ คงคานที เมืองพาราณสี อินเดีย


9/11/55

กรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ


ศัพท์
            คำว่า "กรวด" ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคือการหลั่งน้ำ คำนี้แผลงมาจากคำว่า "จฺรวจ" ซึ่งเป็นภาษาเขมร  ฉะนั้น กรวดน้ำ คือการแผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ

            ชาวพุทธเมื่อทำบุญกับพระในพุทธศาสนาด้วยการถวายปัจจัยสี่ มีถวายเคื่องนุ่งห่ม(ผ้าไตรจีวร),
ใส่บาตร เป็นต้น  หรือในงานบุญพิธีอื่น ๆ มักจะกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ แบ่งปันส่วนบุญที่ตนเองมีอยู่นั้นไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับดับไปด้วยการกรวดน้ำ   เรื่องนี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล  มีพระเจ้าพิมพิสาร ราชาผู้ปกครองมคธรัฐได้แสดงเป็นแบบอย่างไว้  คือได้ทรงบำเพ็ญบุญเลี้ยงพระสงฆ์หมู่ใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วอุทิศบุญนั้นไปให้เหล่าเปรตพระญาติ     แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้ถล่าวถึงพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำอุทิศให้  แต่ปรากฎในเรื่องของการถวายสวนเวฬุวันของพระองค์  แก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อเป็นอาราม

พระเจ้าพิมพิสารบรรลุธรรม
            หลังจากพระเจ้าพิมพิสาร ราชาผู้ปกครองแคว้นมคธฟังอนุปุพพิกถา คือพรรณาถึงการบำเพ็ญบารมีตามลำดับขั้นตอน จากพระบรมศาสดา ดังนี้
     1. ทานกถา ตรัสถึงเรื่องทาน
     2. สีลกถา ตรัสถึงเรื่องศีล
     3. สัคคกถา ตรัสถึงเรื่องสวรรค์
     4. กามาทีนวกถา ตรัสถึงโทษของการเสพกาม (กามคุณ 5 ติดรูป,เสียง,กลิ่น,รส,ติดการสัมผัส)
     5. เนกขัมมานิสังสกถา ตรัสถึงอานิสงส์การออกบวชประพฤติพรหมจรรย์
แล้วได้มีจิตอ่อนโยน เบิกบาน ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ เหมาะแก่การจะสดับธรรมต่อไป พระพุทธองค์จึง
ได้ตรัสอริยสัจ 4 ประการโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น
คือโสดาปัตติผล พร้อมกับบริวารเป็นจำนวนมาก   ส่วนผู้ที่ไม่บรรลุก็ได้แสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพุทธศาสนา

วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
            หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว      ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนักพระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ  เปรียบเสมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง  หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีตาดีจักมองเห็นรูป  ดังนี้แล้วได้ปวารณาตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วได้อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปสู่พระราชนิเวสน์ในกรุงราชคฤห์  (เมืองหลวงของรัฐมคธ)เพื่อบำเพ็ญทานบารมี ในวันรุ่งขึ้น

            เช้าวันต่อมา    พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ราว 1,000 รูป ล้วนเคยเป็นชฎิล (นักบวชนอกศาสนา หรือฤษีสามพี่น้อง คือ
อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ มีบริวารรวมกันได้ 1,000) มาก่อน    พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐได้ทรงอังคาสพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  ด้วยภัตตาหารอันประณีต  เสร็จแล้วท้าวเธอทรงดำริว่า "พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนหนอ ซึ่งเป็นที่ ๆ ไม่ไกลไม่ใกล้หมู่บ้านนัก  คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนสงัด"   ได้ทรงเห็นอุทยานเวฬุวัน (สวนไผ่)ของพระองค์นั้นเหมาะสมเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาและหมู่สงฆ์  จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร(หม้อน้ำทองคำ รูปทรงเหมือนลูกน้ำเต้า) ทรงหลั่งน้ำน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า  "หม่อมฉันขอถวายอุทยานเวฬุวันนั้นแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระพุทธเจ้าข้า"  พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว ได้ตรัสธรรมีกถา เพื่อให้พระเจ้าพิมพิสารอาจหาญ ร่าเริงบันเทิงใจ แล้วเสด็จกลับ แต่นั้นมาพระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมีที่อาศัยบำเพ็ญสมณกิจ นั้นคืออารามหรือวัด ฉะนั้นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนาคือ เวฬุวันวิหาร  เขตกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธในสมัยนั้น
ภาพที่ปรากฎด้านบนคือภาพภายในบริเวณเวฬุวันวิหาร มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใกล้ประตูทางเข้าออก
ภาพที่ 2 เป็นพระพุทธรูปประทับยืนบริเวณกลางแจ้ง เป็นตำแหน่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิ-
โมกข์แก่พระขีณาสพ 1250 รูป เป็นที่มาของวันสำคัญทางศาสนาอีกวันหนึ่งนั้นคือ วันมาฆะบูชา ภายใน
บริเวณมีต้นไม้หลากหลายชนิด มีก่อไผ่อยู่บ้างเป็นบางจุด  พื้นที่กว้างขวาง ข้าพเจ้าไม่สามารถเดินดูได้
ทั้งหมดเนื่องจากมีเวลาจำกัด ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555

เสียงเตือน
            หลังจากพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  ยอมรับนับถือพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต ต่อมาคืนวันหนึ่ง พระองค์ทรงบรรทมอยู่ ได้ยินเสียงอันโหยหวน
น่ากลัวในราชนิเวสน์ ยังความปริวิตกให้เกิดกับพระองค์
            เช้าวันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามถึงเรื่องนั้น  สมเด็จพระโลก-
นาถจึงได้ตรัสกับพระเจ้าพิมพิสารว่าเสียงนั้นคือเสียงของเหล่าเปรตซึ่งเป็นญาติของพระองค์  ที่เคยทำ
อกุศลกรรมไว้ในชาติก่อน ๆ   ตายไปรับผลกรรมในนรกแล้วมาเกิดเป็น ปรทัตตูปชีวีเปรต เปรตจำพวกที่ไม่มีอะไรเป็นอาหารเพื่อดำรงสภาพอยู่ นอกจากผลบุญที่ญาติ ๆ แผ่อุทิศไปให้  ทุกครั้งที่พระองค์ได้ทรง
บำเพ็ญบุญถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วไม่ได้ระลึกถึงญาติ ๆ  ซึ่งรอผลบุญจากพระองค์มาเป็นเวลาช้านาน
หลายพุทธันดร  จึงส่งเสียงร้องเช่นนี้

บุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

4/11/55

การบินไทยขอต้อนรับสู่ A380


       ไทยรัฐออนไลน์ได้มีโอกาสเยี่ยมชมเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก แอร์บัส A380-800 ลำแรกของไทย "ศรีรัตนะ" ที่เป็นเที่ยวบินกลับจากฮ่องกง โดยจะพาเดินไปรอบลำตั้งแต่ประตูทางเข้ายันห้องนักบิน โดยความอนุเคราะห์ของบริษัทการบินไทย...

         หากพูดถึงการเดินทางทางอากาศที่สุดยอดระดับโลกที่คนใฝ่ฝัน  อาจจะหมายถึงการได้นั่งเครื่องบินโดยสารที่เร็วที่สุดในโลก อย่างเครื่องบินคองคอร์ด ที่ปัจจุบันเหลือเพียงตำนานให้กล่าวถึงเท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงความเป็นที่สุดในด้านขนาดและความใหญ่ คงหนีไม่พ้นเครื่องบินโดยสาร แอร์บัส A380-800 ที่ล่าสุดการบินไทยเพิ่งได้รับเข้าฝูงบินไปเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2555 ที่ผ่านมา และเริ่มให้บริการในเส้นทางบินไปกลับ กรุงเทพฯ-ฮ่องกง และกรุงเทพฯ-สิงคโปร์



นอกจากความใหญ่โตของขนาดเครื่องบินที่โดดเด่นด้วยการมีห้องโดยสาร 2 ชั้นแล้ว ความหรูหา สะดวกสบาย ก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่เครื่องบินแอร์บัส เอ380 ของการบินไทยมีให้ในทุกระดับชั้นโดยสาร  เก้าอี้โดยสารชั้นหนึ่ง รอยัล เฟิร์สต์ คลาส ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสุด มีความกว้าง 26.5 นิ้ว สามารถปรับเอนราบได้ 180 องศา ติดตั้งจอโทรทัศน์ระบบสัมผัสขนาด 23 นิ้ว อีกทั้งภายในห้องโดยสาร ได้จัดพื้นที่สำหรับเก็บของใช้ระหว่างเดินทาง ตู้สำหรับแขวนเสื้อโค้ท แยกสัดส่วน และห้องน้ำขนาดใหญ่จำนวน 2 ห้อง ซึ่งกว้างขวางเพียงพอสำหรับการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายได้สะดวก นอกจากนี้ ยังมีรอยัล เฟิร์สต์ คลาส เลาจน์ พื้นที่พักผ่อนสำหรับผู้โดยสาร และรอยัล เฟิร์สต์ คลาส บาร์ เพื่อบริการเครื่องดื่มและของว่างตลอดการเดินทาง




ส่วนชั้นธุรกิจ รอยัล ซิลค์ คลาส ตัวเก้าอี้โดยสารมีความกว้าง 20 นิ้ว สามารถปรับเอนนอนราบได้ 180 องศา การเดินเข้า-ออกจากที่นั่งสามารถทำได้อย่างเป็นอิสระในทุกที่นั่ง ซึ่งจะไม่รบกวนผู้โดยสารในที่นั่งติดกัน รวมทั้งทุกที่นั่งมีการติดตั้งจอโทรทัศน์ระบบสัมผัสขนาด 15 นิ้ว นอกจากนี้ ยังมีบริการ รอยัล ซิลค์ คลาส บาร์ เพื่อบริการอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ

ในส่วนของชั้นประหยัด หรือ Economy Class มีที่นั่งถูกออกแบบใหม่ เน้นสีสันเอกลักษณ์เพิ่มความสะดวกสบายกว้างขวางด้วยระยะห่างระหว่างแถวกว้าง 32 นิ้ว เบาะที่นั่งมีความกว้าง 18 นิ้ว ทุกที่นั่งติดจอภาพส่วนตัวขนาด 10.6 นิ้ว ช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะที่มีขนาดใหญ่ ใส่กระเป๋าได้หลายใบ พร้อมปลั๊กไฟสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า และช่อง USB สำหรับเชื่อมต่อกับแฟลชไดรฟ์ หรือชาร์จอุปกรณ์สมาร์ทโฟน



ในส่วนของระบบสาระบันเทิงบนเครื่องบิน ( In-Flight Entertainment) ภายในเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 ของการบินไทย เป็นระบบที่มีความทันสมัย ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความผ่อนคลายมากที่สุดตลอดระยะเวลาการเดินทาง รวมทั้งยังได้ติดตั้งระบบสื่อสาร ( In-Flight Connectivity) เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวได้ เชื่อมระบบอินเทอร์เน็ต ผ่าน GPRS หรือจะใช้สัญญาณ Wi-Fi เชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้โดยสารการบินไทยมั่นใจว่าจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญระหว่างการเดินทาง

       ระหว่างนี้ใครอยากสัมผัสกับความใหญ่โต หรูหรา โอ่อ่า สะดวกสบาย ยังพอมีเวลาสำหรับเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ฮ่องกง ที่จะได้นั่งเครื่อง A380 เพราะหลังจากนี้จะถูกนำไปใช้ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-แฟรงก์เฟิร์ตต่อไป.






























โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
3 พฤศจิกายน 2555, 10:00 น.

1/11/55

ผลสอบบาลีประโยค ป.ธ. 9 ผ่าน 63 รูป ปี 43

พระเมธีปริยัติวิบูล (ดร.พระมหาศิริ สิริธโร)
ลสอบบาลี ประโยค ป.ธ.9 ประจำปี 2543 มีผู้สอบผ่านทั้งหมด 63 รูป สามเณรผ่าน 10    มีรายชื่อผู้ส่งเข้าสอบทั้งหมด 168 รูป   ขาดสอบ 6 รูป  คงสอบ 162 รูป  สอบได้ 63 รูป  สอบตก 99 รูป คิดเป็น % ที่สอบได้ 38.89 %  สำหรับรายชื่อผู้สอบผ่านมีดังนี้

1. พระมหาวชิราวุธ วชิรเมธี          วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเพทฯ
2. พระมหาอภิชัย อิสฺสรเมธี          วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
3. พระมหานิมิตย์ ปณฺฑิตเสวี        วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
4. พระมหามานะ ญาณสิริ             วัดบพิตรพิมุข กรุงเพทฯ
5. พระมหาบรรหาร ชยานนฺโท      วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
6. สามเณรอาทิเช่น นาขันดี         วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
7. พระมหาบุญร่วม อตฺถกาโม        วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
8. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี            วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ  (ว. วชิรเมธี)
9. พระมหาศุภเดช ชาตเมธี          วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
10. พระมหาโยธิน ปริปุณฺโณ        วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพฯ
11. พระมหาขวัญชัย วชิรญาโณ    วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ
12. พระเมธีปริยัติวิบูล  ดร.พระมหาศิริ สิริธโร  วัดยานนาวา กรุงเทพฯ  (ปัจจุบัน รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรี  ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม
13. สามเณรกวิพัฒน์ สุขแจ่ม        วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
14. สามเณรณัทธกร ศรีคำม้วน      วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ
15. พระมหาทศพล กตปุญฺโญ       วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
16. พระมหาชัยศรี กิตฺติปญฺโญ      วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ
17. พระมหากายสิทธิ์ สิทฺธาภิภู     วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ
18. สามเณรเกียรติศักดิ์ บังเพลิง   วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ
19. สามเณรประภาส โรจชยะ        วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
20. พระมหายงยุทธ สนฺตจิตฺโต     วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
21. พระมหาธัช สุภทฺโท               วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
22. พระมหาสายชล สุธีโร             วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
23. พระมหาวชิร ภทฺรภาณี            วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
24. พระมหาสุธี ธีรญาโณ              วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ
25. พระมหาประสระ สมาจาโร       วัดสวนพลู กรุงเทพฯ
26. พระมหาบุญจันทร์ อคฺคธมฺโม   วัดกาญจนสิงหาสน์ กรุงเทพฯ
27. พระมหามนูญ วิสุทฺธิปญฺโญ     วัดบุญยประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
28. พระมหาบุญส่ง กลฺยาโณ         วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
29. พระมหานิรมิตร กิตฺติมิตฺโต      วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
30. พระมหาธเนส ธเนโส             วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
31. สามเณรทิตติ ต่วนโต             วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
32. พระมหาเจริญสุข คุณวีโร        วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
33. พระมหาปิยะวัฒน อภิวฑฺโฒ    วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
34. พระมหาประกอบ วรวุฑฺฒิ        วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
35. สามเณรวิเชียร เตสะ              วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
36. พระมหาขวัญ ถิรมโน              วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
37. พระมหาอภิชัย อภิชโย           วัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพฯ
38. พระมหากำพล คุณงฺกโร         วัดใหม่ผดุงเขต จ. นนทบุรี
39. พระมหาคลองธรรม ธมฺมาโภ   วัดชลประทานรังสฤษฏ์ จ. นนทบุรี
40. สามเณรฟ้าหยาด มุละสีวะ      วัดละหาร จ. นนทบุรี
41. พระมหาธงชัย สารชโย           วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
42. พระมหาพรชัย วรชโย             วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
43. พระมหาสุพล สุพโล               วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
44. พระมหาเพชรกล้า สิริมนฺโต     วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
45. พระมหาลักษณะ กิตฺตญาโณ   วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
46. พระมหานิพนธ์ ฌานธโช        วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
47. สามเณรปิยะ จันดาดาล         วัดโปรดเกศเชษฐาราม จ. สมุทรปราการ
48. พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน   วัดเสนาสนาราม จ. พระนครศรีอยุธยา
49. พระมหาลำใย สุวฑฺฒโน         วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
50. พระมหานงมานิช สามตฺถิโก    วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
51. พระมหาอานนท์ ชวนาภิภู       วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
52. พระมหาไพบูลย์ วิปุโล           วัดแจ้งพรหมนคร จ. สิงห์บุรี
53. พระมหาอุดมเขตต์ สิริคุตฺโต   วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ. สิงห์บุรี
54. พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี           วัดจองคำ จ.ลำปาง
55. สามเณรชาคริต บำเพ็ญ         วัดพิชโสภาราม จ. อุบลราชธานี
56. พระมหาอภัย ฐิตวิริโย             วัดบูรพารามใต้ จ. ยโสธร
57. พระมหาราชวัติ อตฺถวิญฺญู       วัดบึง จ. นครราชสีมา
58. พระมหากิติวัฒน์ กิตฺติเมธี       วัดสะแก จ. นครราชสีมา
59. พระมหารุ่งโรจน์ ฐิตโรจโน      วัดเทพนิมิตร จ. ฉะเชิงเทรา
60. พระมหาสมทบ เมตฺติโก          วัดใหญ่อินทาราม จ. ชลบุรี
61. พระมหาขนบ สหายปญฺโญ     วัดท่าคอย จ. เพชรบุรี
62. พระมหาภูริณัฏฐ์ ญาณเมธี      วัดขันเงิน จ. ชุมพร
63. พระมหาธีรวัฒน์ สุภาจาโร      วัดชัยมงคล จ.สงขลา

31/10/55

ผลสอบบาลีประโยค ป.ธ. 9 ผ่าน 41 รูป ปี 2542

ลสอบบาลี ประโยค ป.ธ.9 ประจำปี 2542 มีผู้สอบผ่านทั้งหมด 41 รูป สามเณรผ่าน 5    มีรายชื่อผู้ส่ง
เข้าสอบทั้งหมด 104 รูป   ขาดสอบ 2 รูป  คงสอบ 102 รูป  สอบได้ 41 รูป  สอบตก 61 รูป คิดเป็น %
ที่สอบได้ 40.20 %  สำหรับรายชื่อผู้สอบผ่านมีดังนี้

1. พระมหาวีระศักดิ์ ธมฺมธโช           วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
2. พระมหาอิศราธิปติ์ นริสฺสโร         วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
3. พระมหาสำอางค์ สุภาจาโร          วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
4. พระมหาสาคร สิริธิติ                   วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
5. พระมหาสมพงษ์ พฺรหฺมจารี          วัดเทพธิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
6. พระมหาวีระ ปภสฺสโร                  วัดสวัสดิวารีสีมาราม กรุงเทพมหาคนร
7. พระมหาเชาว์ ฐานรโต                 วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
8. พระมหาทัศนันท์ กิตฺยานนฺโท       วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
9. พระมหาไพบูลย์ ตนฺติปาโล          วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
10. พระมหาสงวน ปญฺญาสิริ            วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร
11. พระมหาสุนทร สุนฺทโร               วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
12. พระมหาภาสกรณ์ ปิโยภาโส       วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
13. พระมหาวิชาญ กลฺยาณธมฺโม      วัดอาษาสงคราม จ. สมุทรปราการ
14. สามเณรเชิดชัย หมื่นภักดี           วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร
15. พระมหาชินพัฒน์ จกฺกเมธี           วัดเจ้าอาม กรุงเทพมหานคร
16. สามเณรอิทธิยาวุธ เสาวลักษณ์คุปต์    วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
17. พระมหาคฑาวุธ อคฺควโร             วัดสังเวชวิศยาราม กรุงเทพมหานคร
18. พระมหาสุเทพ สุเทโว                 วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
19. พระมหาสมพงษ์ คุณากโร            วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
20. พระมหาสนิท เขมจารี                 วัดสวนพลู กรุงเทพมหานคร
21. พระมหาปรีชา สุรสีหจารี              วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร (ลาสิกขาแล้ว)
22. พระมหาสำเริง ปภสฺสโร              วัดรวกบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร
23. สามเณรวิรัตน์ ณุศรีจันทร์            วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร
24. พระมหาชิต ติกฺขปญฺโญ              วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
25. พระมหาภรต วราภิญฺโญ              วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
26. สามเณรเดชจำลอง พุฒหอม       วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
27. พระมหาสำราญ ธีรเมธี                วัดรัชฎาธิษฐาน  กรุงเทพมหานคร
28. พระมหาสมาน ธีรญาโณ              วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
29. พระมหาบุญสงค์ อคฺควโร            วัดมูลจินดาราม จ. ปทุมธานี
30. พระมหาบุญทัน รตนวณฺโณ          วัดสายไหม จ. ปทุมธานี (ปัจจุบัน พระศรีธรรมาภรณ์
    เจ้าคณะอำเภออุทุมพรพิสัย)
31. พระมหาสนอง เตชวีโร                 วัดโบสถ์วรดิตถ์ จ. อ่างทอง
32. พระมหาวัฒนะ วฑฺฒโน                วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
33. พระมหาทศพล เขมกาโม              วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ. สิงห์บุรี
34. พระมหานวพงษ์ กิตฺติวํโส             วัดท่ากฤษณา จ. ชัยนาท
35. พระมหาอภิวัฒน์ อภิวฑฺฒนเมธี      วัดมหาพุทธาราม จ. ศรีสะเกษ
36. พระมหาอาสนะ ชุติมนฺโต              วัดบ้านหาญ จ. นครราชสีมา
37. พระมหาสมคิด ตุฏฺฐจิตฺโต             วัดพระงาม จ. นครปฐม
38. พระมหาวีระ วีรปญฺโญ                   วัดพระงาม จ. นครปฐม
39. สามเณรไกรวรรณ ปุณขันณ์           วัดพระงาม จ. นครปฐม
40. พระมหาประสาร จนฺทสาโร            วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม จ. นครปฐม
41. พระมหาเสรี ธมฺมโสภโณ               วัดเจษฎาราม จ. สมุทรสาคร

ความคิดเห็นล่าสุดจากผู้เข้าเยี่ยมชม

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger