31/10/55

ผลสอบบาลีประโยค ป.ธ. 9 ผ่าน 41 รูป ปี 2542

ลสอบบาลี ประโยค ป.ธ.9 ประจำปี 2542 มีผู้สอบผ่านทั้งหมด 41 รูป สามเณรผ่าน 5    มีรายชื่อผู้ส่ง
เข้าสอบทั้งหมด 104 รูป   ขาดสอบ 2 รูป  คงสอบ 102 รูป  สอบได้ 41 รูป  สอบตก 61 รูป คิดเป็น %
ที่สอบได้ 40.20 %  สำหรับรายชื่อผู้สอบผ่านมีดังนี้

1. พระมหาวีระศักดิ์ ธมฺมธโช           วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
2. พระมหาอิศราธิปติ์ นริสฺสโร         วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
3. พระมหาสำอางค์ สุภาจาโร          วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
4. พระมหาสาคร สิริธิติ                   วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
5. พระมหาสมพงษ์ พฺรหฺมจารี          วัดเทพธิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
6. พระมหาวีระ ปภสฺสโร                  วัดสวัสดิวารีสีมาราม กรุงเทพมหาคนร
7. พระมหาเชาว์ ฐานรโต                 วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
8. พระมหาทัศนันท์ กิตฺยานนฺโท       วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
9. พระมหาไพบูลย์ ตนฺติปาโล          วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
10. พระมหาสงวน ปญฺญาสิริ            วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร
11. พระมหาสุนทร สุนฺทโร               วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
12. พระมหาภาสกรณ์ ปิโยภาโส       วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
13. พระมหาวิชาญ กลฺยาณธมฺโม      วัดอาษาสงคราม จ. สมุทรปราการ
14. สามเณรเชิดชัย หมื่นภักดี           วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร
15. พระมหาชินพัฒน์ จกฺกเมธี           วัดเจ้าอาม กรุงเทพมหานคร
16. สามเณรอิทธิยาวุธ เสาวลักษณ์คุปต์    วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
17. พระมหาคฑาวุธ อคฺควโร             วัดสังเวชวิศยาราม กรุงเทพมหานคร
18. พระมหาสุเทพ สุเทโว                 วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
19. พระมหาสมพงษ์ คุณากโร            วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
20. พระมหาสนิท เขมจารี                 วัดสวนพลู กรุงเทพมหานคร
21. พระมหาปรีชา สุรสีหจารี              วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร (ลาสิกขาแล้ว)
22. พระมหาสำเริง ปภสฺสโร              วัดรวกบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร
23. สามเณรวิรัตน์ ณุศรีจันทร์            วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร
24. พระมหาชิต ติกฺขปญฺโญ              วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
25. พระมหาภรต วราภิญฺโญ              วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
26. สามเณรเดชจำลอง พุฒหอม       วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
27. พระมหาสำราญ ธีรเมธี                วัดรัชฎาธิษฐาน  กรุงเทพมหานคร
28. พระมหาสมาน ธีรญาโณ              วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
29. พระมหาบุญสงค์ อคฺควโร            วัดมูลจินดาราม จ. ปทุมธานี
30. พระมหาบุญทัน รตนวณฺโณ          วัดสายไหม จ. ปทุมธานี (ปัจจุบัน พระศรีธรรมาภรณ์
    เจ้าคณะอำเภออุทุมพรพิสัย)
31. พระมหาสนอง เตชวีโร                 วัดโบสถ์วรดิตถ์ จ. อ่างทอง
32. พระมหาวัฒนะ วฑฺฒโน                วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
33. พระมหาทศพล เขมกาโม              วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ. สิงห์บุรี
34. พระมหานวพงษ์ กิตฺติวํโส             วัดท่ากฤษณา จ. ชัยนาท
35. พระมหาอภิวัฒน์ อภิวฑฺฒนเมธี      วัดมหาพุทธาราม จ. ศรีสะเกษ
36. พระมหาอาสนะ ชุติมนฺโต              วัดบ้านหาญ จ. นครราชสีมา
37. พระมหาสมคิด ตุฏฺฐจิตฺโต             วัดพระงาม จ. นครปฐม
38. พระมหาวีระ วีรปญฺโญ                   วัดพระงาม จ. นครปฐม
39. สามเณรไกรวรรณ ปุณขันณ์           วัดพระงาม จ. นครปฐม
40. พระมหาประสาร จนฺทสาโร            วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม จ. นครปฐม
41. พระมหาเสรี ธมฺมโสภโณ               วัดเจษฎาราม จ. สมุทรสาคร

21/10/55

ประเคน (การประเคน การรับประเคน)


ระเคนแล้วห้ามจับ โยม!  (คนอยู่ใกล้สะดุ้งนิดหน่อย(ในบางที่)) อย่าจับ โยม,ประเคนแล้วห้ามจับ,  โยม มา  มาประเคนใหม่  ทางโยมก็ตกใจ ประกอบกับกลัว มึนงง ประโยคเหล่านี้เจอบ่อยมาก ๆ  ก็ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นในสมัยไหน มีความเป็นมาอย่างไร คำพูดเหล่านี้ก็อาจจะมีเหตุผลของมันอยู่นะ ในยุคต้นตอของประโยคเหล่านี้ ข้าพเจ้าขออนุมานเอาเองว่ายกตัวอย่างเช่น ประเภทอาหารสด หลังจากประเคนพระแล้วมีลูก ๆ หลาน ๆ ที่ซนหน่อย ไปจับถ้วยหรือแกงที่ร้อนมากจนทำให้พ่อแม่ ญาติ ๆ หรือพระต้องพูดว่า  อย่าจับลูก อย่าจับ มันร้อน นี่ก็อาจเป็นที่มาได้   แต่ทุกวันนี้ไม่สมเหตุสมผลเลย เข้าใจผิดประเด็นไป   ด้วยอิทธิพลทางความเชื่อที่เชื่อแล้วทำตาม ๆ กันมา โดยไม่คำนึงถึงต้นเหตุอันเป็นเหตุให้เกิดมีพุทธบัญญัติ  ข้าพเจ้าขอยกเรื่องภิกษุผู้เป็นต้นเรื่อง(ที่มาของเรื่องประเคน)ในสมัยพุทธกาลมาเล่า

        สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี มีภิกษุ(พระ)รูปหนึ่งสำคัญผิดคิดว่าทุกอย่างเป็นของบังสุกุล(ของที่ไม่มีเจ้าของแล้ว หรือสิ่งของที่ทิ้งแล้ว ภิกษุสามารถนำมาใช้ได้ เช่น ผ้า เอามาซัก ตัด เย็บ ย้อมใหม่ ทำเป็นจีวร เป็นต้น) ได้พักอยู่ในป่าช้า ท่านไม่ปรารถนาอาหารที่ชาวบ้านถวาย แต่ไปเที่ยวหาเอาเครื่องเซ่นตามป่าช้า ตามโคนไม้ หรือธรณีประตู มาฉัน
          ชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า   "ทำไมภิกษุนี้จึงไปแสวงหาเอาเครื่องเซ่นของพวก
เราไปฉันเองเล่า เหล่าภิกษุที่มักน้อย สันโดษ ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ได้ยินชาวบ้านตำหนิอย่างนั้น ก็ได้
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาภิกษุนั้นเหมือนกันว่า "ไฉนภิกษุจึงกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอเล่า(ฉันตกถึงท้องนั่นเอง) จากนั้นจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า  " ภิกษุ ทราบว่า เธอฉันอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอจริงหรือ " ภิกษุนั้นทูลรับว่า " จริง พระพุทธเจ้าข้า "  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตำหนิว่า " โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ " แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน (ไม่ต้องประเคน)
        สมัยนั้นภิกษุทั้งหลาย มีความยำเกรง   ไม่ยอมหยิบน้ำและไม้ชำระฟันใช้   จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ทรงอนุญาตว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือเอาน้ำและไม้ชำระฟันมาใช้เองได้ " แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ (บัญญัติเพิ่มเติม)
อนึ่ง ภิกษุใดกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

        อาหารที่ยังไม่มีผู้ถวาย คืออาหารที่ภิกษุยังไม่ได้รับประเคน ลักษณะการประเคน การรับประเคน ไว้ขอกล่าวทีหลัง   ขอพูดถึงน้ำและไม้ชำระฟันก่อน คือข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายแสวงหามาใช้ มาดื่มเองได้ ไม่ต้องอาศัยทายก ทายิกาฝ่ายเดียว  เห็นได้ชัดเจนในเรื่องนี้ คือในบริขาร ๘ อย่าง ที่เป็นเครื่องใช้สำคัญของภิกษุทั้งหลายจะมีธมกรก(เครื่องกรองน้ำ)เป็นหนึ่งในนั้น ในสมัยพุทธกาลนั้นจำเป็นต้องใช้สิ่งนี้กรองน้ำเพื่อความสะอาด เพื่อป้องกันสัตว์น้ำชนิดเล็ก ๆ  ในปัจจุบันก็มีความจำเป็นอยู่บ้างในบางกรณี เช่น อยู่ป่า อยู่ถ้ำ ที่ต้องอาศัยน้ำตามลำธาร คลอง บึง เป็นต้น  ส่วนไม้ชำระฟันที่ใช้เคี้ยวเพื่อทำความสะอาดฟัน ก็มีใช้มากในสมัยนั้น ในปัจจุบัน(ในอินเดีย เนปาล)คาดว่าบางคนก็ยังใช้อยู่  เหล่านี้ภิกษุสามารถหามาใช้เองได้ นี้เป็นพุทธานุญาต
     อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ภิกษุจะถือปฏิบัติอย่างนั้นก็คงไม่ได้เสียทีเดียว เพราะสังคม การเป็นอยู่ ระบบเศรษฐกิจ ได้เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนอย่างสิ้นเชิง อย่างน้ำดื่มได้เป็นสินค้าที่มีราคาไม่แตกต่างจากราคาน้ำมันเลย  กลายเป็นของมีค่าไปแล้วในทุกสังคม โดยเฉพาะสังคมเมือง  ในกรณีนี้ข้าพเจ้าจะขอสมมติเรื่องขึ้นมาเรื่องหนึ่ง เช่น มีชาวบ้าน  หรือทายก ทายิกามีศรัทธาอยากจะเลี้ยงพระ   ได้จัดเตรียมนำอาหารหวานคาวพร้อมน้ำดื่มที่ซื้อมา นำมาถวายที่วัดในระหว่างรอความพร้อม หรือกำลังจัดแจงอาหาร  ภิกษุได้หยิบน้ำมาดื่มด้วยสำคัญว่าสิ่งนี้ไม่ต้องประเคนดื่มได้เลย เพราะเป็นพุทธานุญาต   นี้ก็อาจทำให้ศรัทธาตกได้ ในกรณีนี้น้ำต้องประเคนหรือไม่ ?   อย่างนี้เห็นทีจะต้องอาศัยมหาปเทส ๔ (ข้ออ้างอิง ๔ ประการ) มาช่วยพิจารณาได้

ลักษณะ การประเคน การรับประเคน
       การประเคน คือการถวายของแด่พระโดยยกส่งให้ตามพิธีการ  จะขอยกเนื้อหาที่เป็นองค์ประกอบในพระไตรปิฎกมากล่าว
       ที่ชื่อว่า มีผู้ถวาย คือ   (๑)เขาถวายด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยโยนให้    (๒)เขาอยู่ในหัตถบาส   (๓)ภิกษุรับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด่้วยกาย นี้ชื่อว่า มีผู้ถวาย
       ที่ชื่อว่า อาหาร ได้แก่ ของที่ฉันได้ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน นี้ชื่อว่า อาหาร
     
       กล่าวโดยสรุป ลักษณะการประเคนมี ๒ อย่าง คือ
              ๑. การประเคนประกอบด้วยหัตถบาส
              ๒. การประเคนด้วยการโยนให้

       การประเคนประกอบด้วยหัตถบาส    คือช่องว่างระหว่างผู้ถวายกับผู้รับห่างกัน ๑ ศอกของบุรุษกลางคน (หมายถึงคนที่ไม่เตี้ยเกินไปไม่สูงเกินไป)   ผู้ถวายจะถวายด้วยกาย (มือ)  หรือของเนื่องด้วยกายก็ได้  หมายถึง ใช้มือจับสิ่งของนั้นถวายได้โดยตรง  หรือเอาสิ่งของวางลงบนผ้า หรือวัตถุที่เหมาะสม  เช่น ถาด เป็นต้นแล้วใช้มือจับผ้าหรือถาดถวาย   ส่วนผู้รับก็จะรับด้วยกาย (มือ) หรือของเนื่องด้วยกายอย่างที่กล่าวแล้ว   ขอชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การถวาย การรับ ด้วยของเนื่องด้วยกาย   จะใช้ได้ฝ่ายเดียวเท่านั้น คือผู้ถวาย  หรือผู้รับก็ได้    ถ้าผู้ถวาย ๆ ด้วยของเนื่องด้วยกาย ผู้รับต้องรับด้วยกาย ถ้าผู้ถวาย ๆ ด้วยกาย ผู้รับต้องรับด้วยของเนื่องด้วยกาย
      การประเคนด้วยการโยนให้   คือผู้ถวายและผู้รับไม่ได้อยู่ในสถานที่ ๆ เอื้อต่อการถวายการรับในรูปแบบหัตถบาส ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะการณ์เช่นใดก็ตาม นี้ก็จัดเป็นการประเคน การรับประเคน

       ขอเข้าและสรุปประเด็นหลักที่ข้าพเจ้าอยากพูดถึง ที่ได้เกริ่นไว้แต่ต้น เมื่อทายก ทายิกา ปารถนาที่จะทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน หรือที่วัดก็ตาม   มีเจตนาดีครบ ๓ กาล คือมีศรัทธามีความเลื่อมใส ตั้งจิตมาแต่ไกล ตั้งใจมาแต่บ้าน เป็นเบื้องต้น นี้เรียกว่า ปุพพะเจตนา  กำลังถวายกำลังประเคน ก็มีจิตยินดี  นี้เรียกว่า มุญจะนะเจตนา  หลังจากตั้งใจมาดีและถวายแล้วก็เกิดปีติโสมนัส เกิดความสุข นี้เรียกว่า อะปะราปะระเจตนา  หลังจากที่ชาวบ้าน หรือทายกทายิกาประเคนแล้ว ถ้าหากอาหารมีจำนวนมาก หรือโต๊ะใหญ่เกินไป อาหารยังวางไม่เป็นระเบียบดี เช่น ขอบปากถ้วย ขอบปากภาชนะที่ใส่อาหารเกยกันและกัน   พระไม่สะดวกในการจัดเอง   ในกรณีนี้ทายก ทายิกาสามารถจับและจัดแจงให้ได้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยไม่เสียการประเคนการรับประเคนแต่อย่างใด  ให้ดูว่าเขาจับเพื่อเจตนาอะไร เข้าใจอย่างนี้ได้ถือว่าเป็นการดี ขอให้ยึดจุดประสงค์ของพุทธบัญญัติ ยึดองค์ประกอบการประเคน   และยึดเจตนาทั้ง ๓ กาลของผู้ถวาย เป็นหลัก



อ้างอิง วิ. มหา. ๒/๒๖๓-๒๖๔-๒๖๖/๔๑๔ เป็นต้นไป
ขอบคุณภาพประกอบน่ารักที่แชร์ทาง Facebook 

       
       





 


19/10/55

ภาพ-ประวัติ พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 1-16


      มุตฺตาหํ ภิกฺขเว สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มนุสฺสา, ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว มุตฺตา สพฺพปาเสหิ, เย ทิพฺพา จ เย มนุสฺสา.
     จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ.

18/10/55

คำบูชาข้าวพระพุทธ การ-เหตุผล

าวพุทธเรา ๆ ท่าน ๆ เมื่อประกอบพิธีทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืออวมงคลก็ตาม จะอาราธนาพระพุทธปฏิมาคือรูปเสมือนพระพุทธเจ้ามาเป็นประธานในพิธีกรรมนั้น ๆ เวลาถวายอาหารพระ ก่อนจะถวาย บางเจ้าภาพจะเตรียมสำรับไว้หนึ่งสำรับเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า บูชานะ ไม่ใช่ถวาย ให้เข้าใจอย่างนี้

คำบูชา   อิมัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ (สองคนขึ้นไปใช้
ปูเชมะ)  ข้าพเจ้าขอบูชาข้าวสาลีพร้อมด้วยแกงกับ (ถือเป็นอาหารหวานคาว) และน้ำอันประเสริฐนี้  แด่พระพุทธเจ้า.  หรือจะใช้อีกสำนวนว่า ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยข้าวสาลีพร้อมด้วยแกงกับ  และน้ำอันประเสริฐนี้.
       เมื่อพระฉันหรือพิจารณาภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพ หรือตัวแทนเจ้าภาพ กล่าวคำลาข้าวพระพุทธ
คำลา     เสสัง มังคะลัง ยาจามิ (สองคนขึ้นไปใช้ ยาจามะ) ข้าพเจ้าขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคล.

ขอชี้แจงความเข้าใจเกี่ยวกับคำ ถวาย และ บูชา ไปยังหลาย ๆ ท่านที่ยังไม่เข้าใจ หรือแม้แต่กับพระภิกษุหลาย ๆ รูปเท่าที่ได้เห็นได้ยินมา  ได้แนะนำ, สอนญาติโยมโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หรือที่ควรจะเป็น ควรหยุดการแนะนำอันก่อให้เกิดความผิดเพี้ยน

ถวาย  คือการให้ มอบให้ปัจจัยสี่ อย่างเช่น นางวิสาขา มหาอุบสิกา ได้ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า
          พร้อมด้วยพระสงฆ์หมู่ใหญ่ คำนี้ก็หมายถึงใช้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่,ดำรงพระชนม์อยู่.
บูชา    คือการแสดงความเคารพบุคคล หรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะต่าง ๆ มีดอกไม้ ธูป เทียน                 เป็นต้น เพื่อเป็นการยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือ  หรือเลื่อมใสในความรู้ความสามารถ คำนี้ 
          ใช้ได้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และเสียชีวิตแล้ว
ถ้าจะถามว่า ไม่มีได้ไหม สำรับสำหรับพระพุทธ พระพุทธองค์ก็ปรินิพพานไปนานแล้ว ทำไมยังทำเหมือนพระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่  งมงายไม่เข้าท่า  อันนี้ไม่มีคำตอบที่สุดโต่งไปเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับความวางใจ ความเข้าใจของแต่ละท่าน  บางท่าน บางเจ้าภาพ ก็ทำขึ้น หรือพระภิกษุบางรูปก็แนะนำให้จัดขึ้นเพื่อบูชา,เพื่อแสดงความเคารพ น้อมนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า อันมีพระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ  ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละท่าน  จริงอยู่ พระพุทธองค์ทรงยกย่องการปฏิบัติบูชาว่ามีอานิสงส์มหาศาล แต่ก็หาได้คัดค้านอามิสบูชาไม่  อามิสบูชาที่ไม่ขัดต่อการ
บรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย นั้นก็พึงมีได้.  วิญญูชนมีความคิดเห็นเป็นประการได         โปรดใช้วิจารณญาณด้วย.

ขอขอบคุณ ภาพสำรับ thaitelecentreshop





16/10/55

2 วันกับศรัทธาในแดนพุทธภูมิ (เนปาล)

         ช่วงวันที่  27 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2555 คณาจารย์ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งพระสงฆ์และฆราวาส  (o_o)  ร่วมกับคณะพระธรรมทูตไทยสายประเทศอินเดีย-เนปาล ได้นำพาคณะสงฆ์ผู้เข้ารับการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 18 เฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2555 จำนวน 83 รูป ไปศึกษาดูงานพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล และเพื่อบูชาสักการะสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง คือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า และสถานที่ ๆ สำคัญ ๆ อีกหลายแห่งที่เกี่ยวข้อง  นับเป็นรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาดูงานต่างแดนเริ่มตั้งแต่มีการอบรมมา (อบรมครั้งแรกรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538) รวมผู้ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ทั้งหมด 110 รูป/คน การเดินทางแยกออกเป็นสองสายการบิน คือการบินไทย เครื่องขึ้นเวลา 10.15 น. Nepal Airline เครื่องขึ้นเวลา 14.50 น.(ล่าช้า เวลาเดิมคือ 14.00 น.)
พระราชรัตนรังษี หัวหน้าพระธรรมทูตไทย สายประเทศอินเดีย-เนปาล
.............เดินทางถึงกาฐมาณฑุเมืองหลวงของประเทศเนปาลเวลา 17.40 น. โดยประมาณ ไม่มีเวลาพอที่จะได้ไปเที่ยวชมวัดสำคัญ ๆ และทัศนียภาพของเมืองหลวงเหมือนเพื่อน ๆ พระนักเรียนธรรมทูตที่ได้ไปก่อนหน้านั้น จึงได้ต่อรถไปยัง The Everest Hotel ทันที พักที่นี่หนึ่งราตรี เช้าวันต่อมาคือ 28 เมษา หลังจากฉันเช้าแล้วก็ได้เดินทางกลับไปยังสนามบินกาฐมาณฑุอีกครั้งเพื่อขึ้นเครื่องภายในประเทศไปยังสนามบินพุทธโคดม เมืองสิทธารถะ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที จากนั้นเดินทางต่อไปยังวัดไทยลุมพินีโดยรถปรับอากาศทั้งหมด 3 คันที่บริษัททัวร์จัดเตรียมไว้      ช่วงบ่ายหลังจากเสร็จภัตกิจเพลและการนำสัมภาระไปเก็บไว้ที่ห้องพักแล้ว    ทั้งหมดมีพระราชรัตนรังษี หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาเป็นประธาน ได้เดินทางไปยังวัดแห่งแรกของกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะในสมัยนั้น  นั่นคือนิโครธาราม เป็นวัดที่พระประยูรญาติได้ร่วมกันสร้างถวายตามพระประสงค์ของพุทธบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะเพื่อเป็นสถานที่รับรองการเสด็จกลับมาของพระพุทธเจ้าหลังจากที่พุทธองค์ได้เสด็จหนีออกผนวชแล้วได้ตรัสรู้ตามลำดับ เป็นวัดที่พระพุทธองค์ได้เสด็จจำพรรษาเป็นพรรษาที่ 15 เพื่อโปรดประยูรญาติ ได้แสดงธรรมที่ปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ มีมหาชาติชาดก เป็นต้น เป็นที่ให้การบรรพชาแก่ราหุลกุมารซึ่งเป็นโอรสของพระองค์เอง ปัจจุบันมีเพียงซากอิฐเก่าที่ก่อเป็นรูปสถูปตั้งอยู่ใจกลางบริเวณ อยู่ในการดูแลของทางการ.
          ณ ดินแดนประวัติศาสตร์แห่งนี้ ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษีได้กล่าวอบรมเพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับเหล่าคณะนักเรียนธรรมทูต นำพาไหว้พระเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนาประมาณหนึ่งชั่วโมง จากนั้นได้บันทึกภาพหมู่ไว้เป็นที่ระลึก. สถานที่แห่งนี้ในปัจจุบันตามที่ข้าพเจ้าเองสังเกตแล้วเป็นที่เชิงลุ่มเพราะมีนาปลูกข้าวอยู่รอบบริเวณ และมีบ้านที่อยู่อาศัยไม่กี่หลัง มีต้นไม้หลายชนิดขึ้นในบริเวณ อย่างต้นมะม่วงเป็นต้น เป็นต้นมีอายุเก่าแก่พอดู ในระหว่างทำกิจกรรมดังที่กล่าวไว้ข้างต้นก็มีลมโชยมาค่อนข้างแรง ทำให้คลายร้อนไปได้บ้าง.
          หลังจากเสร็จภารกิจตรงนี้แล้วได้ไปยังที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุ์ซึ่งไม่ห่างกันมากนัก นั่งรถอึดใจเดียวก็ถึง. กบิลพัสดุ์ เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะในสมัยนั้น ครอบครองโดยพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ ๆ ได้ประทับอยู่ที่เมืองแห่งนี้ตั้งแต่ประสูติกาลมาจนพระชนมายุได้ 29 ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของสิทธัตถะราชกุมาร(ต่อมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)ซึ่งเรียกว่า ลุมพินีวัน เป็นที่ ๆ ข้าพเจ้าจะกล่าวไว้เป็นลำดับสุดท้าย. พอเข้ามาในเขตที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุ์แล้วจะเห็นเป็นป่ามีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นแซมกันไม่รกทึบมากนัก บางช่วงก็จะมีต้นไม้ใบหญ้าขึ้นสูงประมาณเข่า ประมาณอก เพียงท่วมหัวก็มี เป็นป่ากว้างใหญ่นับเป็นพัน ๆ ไร่.
..เดินเรื่อยมาจนถึงตำแหน่งที่ตั้งของเมืองชมซากอิฐเก่าของปราสาท 3 ฤดู อันเป็นที่ประทับของเจ้าชายสิทธัตถะ ห่างจากสถานที่นี้ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 400 เมตรได้ จะเป็นประตูเมืองที่พระองค์ทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกผนวชในยามเที่ยงคืน
จากจุดนี้ไปทางด้านทิศตะวันตกเหมือนกัน ไปประมาณ 1 กิโลเมตร ดร.พระมหาปรีชา ธรรมวิทยากร ผู้บรรยายถวายความรู้แก่นักเรียนพระธรรมทูต ท่านได้ชี้บอกว่าที่เห็นเป็นเนินดินไกล ๆ โน้นคือ สถูปม้ากัณฐกะ ม้ากัณฐกะได้สิ้นใจตายที่ตรงนั้นหลังกลับจากส่งพระองค์. ประตูเสด็จหนีออกผนวชและบริเวณโดยรอบ ตามที่ข้าพเจ้าได้เห็นสถานที่จริงแล้ว เป็นไปตามจินตนาการที่ข้าพเจ้ามีในขณะเรียนผ่านจากตำรา ไม่ได้ผิดหวังเลยว่า สถานที่นี้เป็นอย่างนี้เองหรือ ทำไมไม่เห็นเหมือนอย่างที่คิดเลย.
          ถึง ณ เวลานี้ก็ตกเย็นเพราะใช้เวลาทำกิจกรรม ฟังบรรยาย จิตภาวนา ถ่ายภาพหมู เดินชมสถานเป็นการส่วนตัว ร่วม 2 ชั่วโมง จากนั้นระหว่างเดินทางกลับวัดไทยลุมพินีได้แวะชมวัดพุทธนานาชาติ ได้แวะวัดจีนวัดเดียวเนื่องจากเวลาไม่พอ ทางวัดสวดมนต์ถวายการต้อนรับคณะสงฆ์ไทย ถวายของที่ระลึกแก่กันและกัน ชมสถาปัตยกรรม จิตรกรรมเป็นเวลาพอสมควร กลับถึงวัดไทยลุมพินีประมาณ 2 ทุ่ม ดื่มน้ำปานะที่ทางวัดจัดเตรียมไว้   จากนั้นคณาจารย์มีพระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ รองอธิบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ประธานโครงการดำเนินงาน เป็นประธาน พร้อมด้วยพระนักเรียนธรรมทูตทั้งหมด ร่วมประชุมเพื่อสรุปภาพรวมของการทัศนศึกษา พร้อมทั้งมอบหมายให้ทำรายงานกลุ่มแต่ละกลุ่ม(7 กลุ่ม)เนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่การทำงานของพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นหลัก
       รุ่งเช้าวันที่ 29 เมษายน หลังจากพิจารณาภัตตาหารเช้าเสร็จ ทั้งคณะได้เดินทางไปยังลุมพินีวันซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของสิทธัตถราชกุมาร ไม่ห่างจากวัดไทยลุมพินีมากนัก ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณสิบนาที จากนั้นถึงประตูทางเข้า ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกร่วมหนึ่งกิโลเมตรเห็นจะได้ เนื่องจากทางการไม่อนุญาตให้รถวิ่งเข้าออก ยกเว้นจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ
เมื่อถึงสถานที่แล้วได้ทำพิธีเปิดการอบรมช่วง การเรียนรู้และการปฏิบัติงานนอกสถานที่คือแดนพุทธภูมิโดยมีสงฆ์จากวัดพุทธนานาชาติทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเจริญมนต์คาถา พุทธมนต์ถวายการต้อนรับภายใต้ต้นโพธิ์ซึ่งไม่ห่างจากที่ ๆ ประสูติ
จากนั้นได้เจริญพุทธมนต์ ฟังการบรรยายจากพระราชรัตนรังษี และทำจิตตภาวนา(สมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน) พอควรแก่เวลา
ลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ "เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช" ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ ยังมี "วิหารมายาเทวี" ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส โดยเป็นวิหารเก่ามีอายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก ปัจจุบันทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารมายาเทวีหลังเก่า และได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงดำเนินได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ
        ลุมพินีวันได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น "พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ซึ่งเป็นดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านตั้งใจเริ่มโครงการฟื้นฟูให้ลุมพินีวันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธบน พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่า 6,000 ไร่ (ขนานตามแนวเหนือใต้) แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ
          ในปี พ.ศ. 2540 ลุมพินีวันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ "ลุมพินี สถานทีประสูติของพระพุทธเจ้า" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี
....ปัจจุบันลุมพินีวันได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยการนำของ คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุิ์ ปธ.มูลนิธิไทยพึ่งไทย ได้เชิญชวนชาวพุทธไทยทั่วประเทศมามีส่วนร่วมในการนี้ มีพระราชรัตนรังษี เป็นที่ปรึกษาโครงการ ได้แล้วเสร็จดังที่เราท่านทั้งหลายได้เห็นมาแล้วนั้น  ขออนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่ง


ดูภาพประกอบเพิ่มเติมใน  เล่าเรื่องด้วยภาพ (เนปาล)


15/10/55

หนังสือเดินทางราชการ (OFFICIAL PASSPORT)

นังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม) มีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือดินทางราชการ ให้ส่งหนังสือเดินทางราชการนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการจะนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัวไม่ได้


        ตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศกำหนดให้ออกหนังสือเดินทางราชการแก่บุคคลดังต่อไปนี้
        (1) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ และสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
      (2) ข้าราชการซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรืสถานกงสุลไทย หรือ ในคณะทูตถาวรประจำองค์การระหว่างประเทศในตำแหน่งอื่นที่มิใช่ตำแหน่งทางการทูต รวมทั้ง  คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาที่ประจำอยู่ หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น  แต่บุตรต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
        (3) บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ
       (4) บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือในกรณีที่เห็นสมควรเป็นพิเศษ หรือ เกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางได้

        เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินราชการ
       ผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง ต้องมาดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากต้องเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง ได้แก่ ภาพใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อนำไปบันทึกลงในไมโครชิพที่ฝังในหนังสือเดินทาง และมีเอกสารประกอบดังนี้
        1) หนังสือนำจากต้นสังกัดระดับปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้ออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้ผู้ยื่นคำร้องเดินทางไปราชการ  ให้ระบุประเทศ กำหนดวันเวลาที่จะเดินทาง
        2) สำเนาบันทึกหรือสำเนาคำสั่งที่อนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการ แสดงรายละเอียดการเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ(ประกอบด้วย ค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าที่พัก, ค่าพาหนะเดินทาง ฯลฯ) กรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากที่อื่น เช่น จากต่างประเทศ หรือหน่วยงานในประเทศ ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบ
           3) สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ และบัตรประจำตัวประชาชน
           4) สำเนาทะเบียนบ้าน
        กรณีเป็นพนักงานของรัฐ หรือ พนักงานมหาวิทยาลัย โปรดนำหลักฐานแสดงระยะเวลาการปฏิบัติงานกับต้นสังกัด เช่น สัญญาการจ้างมาแสดง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดอายุการใช้งานของหนังสือเดินทาง

       หมายเหตุ
       เอกสารเพิ่มเติม เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ฯลฯ หากหนังสือเดินทางใกล้หมดอายุ ให้นำหนังสือเดินทางเดิมมายกเลิก หรือหากสูญหายให้นำใบแจ้งความมาแสดงด้วย

        ค่าธรรมเนียม
        การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

        วัน-เวลาที่เปิดทำการ
       จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 8.00 - 15.30 น. ใช้เวลาทำการ 3 วัน          โทร. 02-981-7266 - 7 หรือ 02-9817170 ต่อ 2235,, 2237, 2238 และ 2239 โทรสาร : 02-5751032

        (ฝ่ายหนังสือเดินทางฑูตและราชการ)

12/10/55

เล่าเรื่องด้วยภาพ (เนปาล)

          ช่วงวันที่  27 เมษายน - 8 พฤษภาคม 2555 คณาจารย์ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ร่วมกับคณะพระธรรมทูตไทยสายประเทศอินเดีย-เนปาล ได้นำพาคณะสงฆ์ผู้เข้ารับการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 18 เฉลิมพระเกียรติ ประจำปี 2555 จำนวน 83 รูป ไปศึกษาดูงานพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล และเพื่อบูชาสักการะสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง คือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสถานที่ ๆ สำคัญ ๆ อีกหลายแห่งที่เกี่ยวข้อง  นับเป็นรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาดูงานต่างแดนเริ่มตั้งแต่มีการอบรมมา (อบรมครั้งแรกรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538) รวมผู้ร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ทั้งหมด 110 รูป/คน การเดินทางแยกออกเป็นสองสายการบิน คือการบินไทย เครื่องขึ้นเวลา 10.15 น. Nepal Airline เครื่องขึ้นเวลา 14.50 น.(ล่าช้า เวลาเดิมคือ 14.00 น.)








ประวัติ-ภาพ พระธรรมทูต รุ่นที่ 15

ความคิดเห็นล่าสุดจากผู้เข้าเยี่ยมชม

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger