25/11/55

มาทำความรู้จักกับบาลีบทนี้กัน


            ก็มีไม่น้อยคนที่เคยไปทำธุรกรรมที่อำเภอ,สมัครงาน,ส่งชื่อสอบ,ส่งเรื่องทำวีซ่า และอื่น ๆ แล้วพบกับปัญหาเกี่ยวกับชื่อ นามสกุล ของตน หรือแม้แต่ฉายาของพระ  ข้าพเจ้าเองก็ประสบกับปัญหานี้มาแล้ว
 
            ข้าพเจ้าทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหานี้ของบางท่านบางครอบครัวมาบ้างผ่านทางหนังสือพิมพ์,ทีวีก็มี  มีครั้งหนึ่ง ทางทีวีช่องหนึ่ง รายการหนึ่ง มีช่วงหนึ่ง แขกที่ได้รับเชิญมาพูดถึงนามสกุลของตัวเองว่าแต่เดิมแล้วไม่ได้ชื่อนี้ ที่เป็นอย่างนี้เกิดจากความผิดพลาดทางเจ้าหน้าที่ทะเบียนอำเภอเขียนเพี้ยนไป แต่ก็ไม่ได้แก้ไข พึ่งได้สังเกตและทราบภายหลัง เลยจำต้องใช้นามสกุลที่เพี้ยนไปจากเดิม กว่าจะลงตัวก็ใช้เวลานะ นี่คือปัญหาที่สร้างความยุ่งยากไม่น้อยเลย  เหมือนอย่างที่สหธรรมิกที่รู้จักมักคุ้นกับข้าพเจ้าหลาย ๆ ท่านและตัวข้าพเจ้าเองก็เจอปัญหานี้มาทั้งนั้น ส่งชื่อลงสอบ สอบผ่าน อ้าว! นามสกุล ถูกเปลี่ยนอักษรบ้าง ถูกเติมการันต์บ้าง  ฉายา ถูกเติมตัวอักษรเพิ่มบ้างถูกเปลี่ยนตัวอักษรบ้าง อย่างฉายาบทนี้ จิตคุโณ (อ่านว่า จิตะคุโณ)เคยถูกเปลี่ยนอักษรและเพิ่มอักษรอยู่บ่อยครั้งตอนเมื่อส่งรายชื่อเข้าสอบ หรือทำธุรกรรมอย่างอื่น

            หลาย ๆ ท่าน แม้แต่พระมหาเปรียญก็ยังนึกไม่ถึงศัพท์นี้ จิตะ ส่วนมากเข้าใจไปว่าเป็นศัพท์นามคือ จิต (ใจ,สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด นึก) เมื่อพิมพ์ฉายาเลยเพิ่ม ต มาอีกตัวเสียนี่ (คำว่า จิต ที่เป็นนามในภาษาบาลีใช้ ต สองตัว)  ศัพท์ จิตะ นี้ เป็นกิริยา รากศัพท์มาจาก จิ ธาตุในความสั่งสม ประกอบด้วย ต ปัจจัยกิริยากิตก์ เมื่อนำสองคำมารวมกันคือ จิตคุโณ แปลว่า ผู้มีความดีสั่งสมไว้แล้ว บางครั้งก็ถูกเปลี่ยนจาก จ เป็น ฐ ก็มี ด้วยเข้าใจว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ ๆ เช่น ฐิตคุโณ ผู้มีคุณตั้งอยู่แล้ว แปลเอาใจความก็ ผู้ดำรงอยู่ในความดี   ขอทวนให้ทราบอีกครั้งว่า จิต ในคำว่า จิตคุโณ นี้แปลว่า สั่งสม  เป็นกิริยาตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีท่านทั้งหลาย  นี้จึงเป็นที่มาให้ข้าพเจ้าได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาทางภาษาบาลีได้รู้และเข้าใจได้บ้าง  และเป็นการทบทวนสำหรับผู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว



รุ่งอรุณ ณ คงคานที เมืองพาราณสี อินเดีย


9/11/55

กรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ


ศัพท์
            คำว่า "กรวด" ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคือการหลั่งน้ำ คำนี้แผลงมาจากคำว่า "จฺรวจ" ซึ่งเป็นภาษาเขมร  ฉะนั้น กรวดน้ำ คือการแผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ

            ชาวพุทธเมื่อทำบุญกับพระในพุทธศาสนาด้วยการถวายปัจจัยสี่ มีถวายเคื่องนุ่งห่ม(ผ้าไตรจีวร),
ใส่บาตร เป็นต้น  หรือในงานบุญพิธีอื่น ๆ มักจะกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ แบ่งปันส่วนบุญที่ตนเองมีอยู่นั้นไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับดับไปด้วยการกรวดน้ำ   เรื่องนี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล  มีพระเจ้าพิมพิสาร ราชาผู้ปกครองมคธรัฐได้แสดงเป็นแบบอย่างไว้  คือได้ทรงบำเพ็ญบุญเลี้ยงพระสงฆ์หมู่ใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วอุทิศบุญนั้นไปให้เหล่าเปรตพระญาติ     แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้ถล่าวถึงพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำอุทิศให้  แต่ปรากฎในเรื่องของการถวายสวนเวฬุวันของพระองค์  แก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อเป็นอาราม

พระเจ้าพิมพิสารบรรลุธรรม
            หลังจากพระเจ้าพิมพิสาร ราชาผู้ปกครองแคว้นมคธฟังอนุปุพพิกถา คือพรรณาถึงการบำเพ็ญบารมีตามลำดับขั้นตอน จากพระบรมศาสดา ดังนี้
     1. ทานกถา ตรัสถึงเรื่องทาน
     2. สีลกถา ตรัสถึงเรื่องศีล
     3. สัคคกถา ตรัสถึงเรื่องสวรรค์
     4. กามาทีนวกถา ตรัสถึงโทษของการเสพกาม (กามคุณ 5 ติดรูป,เสียง,กลิ่น,รส,ติดการสัมผัส)
     5. เนกขัมมานิสังสกถา ตรัสถึงอานิสงส์การออกบวชประพฤติพรหมจรรย์
แล้วได้มีจิตอ่อนโยน เบิกบาน ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ เหมาะแก่การจะสดับธรรมต่อไป พระพุทธองค์จึง
ได้ตรัสอริยสัจ 4 ประการโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น
คือโสดาปัตติผล พร้อมกับบริวารเป็นจำนวนมาก   ส่วนผู้ที่ไม่บรรลุก็ได้แสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพุทธศาสนา

วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
            หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว      ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนักพระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ  เปรียบเสมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง  หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีตาดีจักมองเห็นรูป  ดังนี้แล้วได้ปวารณาตนเป็นอุบาสกในพุทธศาสนามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วได้อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จไปสู่พระราชนิเวสน์ในกรุงราชคฤห์  (เมืองหลวงของรัฐมคธ)เพื่อบำเพ็ญทานบารมี ในวันรุ่งขึ้น

            เช้าวันต่อมา    พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ราว 1,000 รูป ล้วนเคยเป็นชฎิล (นักบวชนอกศาสนา หรือฤษีสามพี่น้อง คือ
อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ มีบริวารรวมกันได้ 1,000) มาก่อน    พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐได้ทรงอังคาสพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  ด้วยภัตตาหารอันประณีต  เสร็จแล้วท้าวเธอทรงดำริว่า "พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนหนอ ซึ่งเป็นที่ ๆ ไม่ไกลไม่ใกล้หมู่บ้านนัก  คมนาคมสะดวก ผู้ประสงค์พึงเข้าเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนสงัด"   ได้ทรงเห็นอุทยานเวฬุวัน (สวนไผ่)ของพระองค์นั้นเหมาะสมเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาและหมู่สงฆ์  จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร(หม้อน้ำทองคำ รูปทรงเหมือนลูกน้ำเต้า) ทรงหลั่งน้ำน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า  "หม่อมฉันขอถวายอุทยานเวฬุวันนั้นแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระพุทธเจ้าข้า"  พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว ได้ตรัสธรรมีกถา เพื่อให้พระเจ้าพิมพิสารอาจหาญ ร่าเริงบันเทิงใจ แล้วเสด็จกลับ แต่นั้นมาพระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมีที่อาศัยบำเพ็ญสมณกิจ นั้นคืออารามหรือวัด ฉะนั้นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนาคือ เวฬุวันวิหาร  เขตกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธในสมัยนั้น
ภาพที่ปรากฎด้านบนคือภาพภายในบริเวณเวฬุวันวิหาร มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าใกล้ประตูทางเข้าออก
ภาพที่ 2 เป็นพระพุทธรูปประทับยืนบริเวณกลางแจ้ง เป็นตำแหน่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิ-
โมกข์แก่พระขีณาสพ 1250 รูป เป็นที่มาของวันสำคัญทางศาสนาอีกวันหนึ่งนั้นคือ วันมาฆะบูชา ภายใน
บริเวณมีต้นไม้หลากหลายชนิด มีก่อไผ่อยู่บ้างเป็นบางจุด  พื้นที่กว้างขวาง ข้าพเจ้าไม่สามารถเดินดูได้
ทั้งหมดเนื่องจากมีเวลาจำกัด ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555

เสียงเตือน
            หลังจากพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  ยอมรับนับถือพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดชีวิต ต่อมาคืนวันหนึ่ง พระองค์ทรงบรรทมอยู่ ได้ยินเสียงอันโหยหวน
น่ากลัวในราชนิเวสน์ ยังความปริวิตกให้เกิดกับพระองค์
            เช้าวันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามถึงเรื่องนั้น  สมเด็จพระโลก-
นาถจึงได้ตรัสกับพระเจ้าพิมพิสารว่าเสียงนั้นคือเสียงของเหล่าเปรตซึ่งเป็นญาติของพระองค์  ที่เคยทำ
อกุศลกรรมไว้ในชาติก่อน ๆ   ตายไปรับผลกรรมในนรกแล้วมาเกิดเป็น ปรทัตตูปชีวีเปรต เปรตจำพวกที่ไม่มีอะไรเป็นอาหารเพื่อดำรงสภาพอยู่ นอกจากผลบุญที่ญาติ ๆ แผ่อุทิศไปให้  ทุกครั้งที่พระองค์ได้ทรง
บำเพ็ญบุญถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วไม่ได้ระลึกถึงญาติ ๆ  ซึ่งรอผลบุญจากพระองค์มาเป็นเวลาช้านาน
หลายพุทธันดร  จึงส่งเสียงร้องเช่นนี้

บุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

4/11/55

การบินไทยขอต้อนรับสู่ A380


       ไทยรัฐออนไลน์ได้มีโอกาสเยี่ยมชมเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก แอร์บัส A380-800 ลำแรกของไทย "ศรีรัตนะ" ที่เป็นเที่ยวบินกลับจากฮ่องกง โดยจะพาเดินไปรอบลำตั้งแต่ประตูทางเข้ายันห้องนักบิน โดยความอนุเคราะห์ของบริษัทการบินไทย...

         หากพูดถึงการเดินทางทางอากาศที่สุดยอดระดับโลกที่คนใฝ่ฝัน  อาจจะหมายถึงการได้นั่งเครื่องบินโดยสารที่เร็วที่สุดในโลก อย่างเครื่องบินคองคอร์ด ที่ปัจจุบันเหลือเพียงตำนานให้กล่าวถึงเท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงความเป็นที่สุดในด้านขนาดและความใหญ่ คงหนีไม่พ้นเครื่องบินโดยสาร แอร์บัส A380-800 ที่ล่าสุดการบินไทยเพิ่งได้รับเข้าฝูงบินไปเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2555 ที่ผ่านมา และเริ่มให้บริการในเส้นทางบินไปกลับ กรุงเทพฯ-ฮ่องกง และกรุงเทพฯ-สิงคโปร์



นอกจากความใหญ่โตของขนาดเครื่องบินที่โดดเด่นด้วยการมีห้องโดยสาร 2 ชั้นแล้ว ความหรูหา สะดวกสบาย ก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่เครื่องบินแอร์บัส เอ380 ของการบินไทยมีให้ในทุกระดับชั้นโดยสาร  เก้าอี้โดยสารชั้นหนึ่ง รอยัล เฟิร์สต์ คลาส ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสุด มีความกว้าง 26.5 นิ้ว สามารถปรับเอนราบได้ 180 องศา ติดตั้งจอโทรทัศน์ระบบสัมผัสขนาด 23 นิ้ว อีกทั้งภายในห้องโดยสาร ได้จัดพื้นที่สำหรับเก็บของใช้ระหว่างเดินทาง ตู้สำหรับแขวนเสื้อโค้ท แยกสัดส่วน และห้องน้ำขนาดใหญ่จำนวน 2 ห้อง ซึ่งกว้างขวางเพียงพอสำหรับการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายได้สะดวก นอกจากนี้ ยังมีรอยัล เฟิร์สต์ คลาส เลาจน์ พื้นที่พักผ่อนสำหรับผู้โดยสาร และรอยัล เฟิร์สต์ คลาส บาร์ เพื่อบริการเครื่องดื่มและของว่างตลอดการเดินทาง




ส่วนชั้นธุรกิจ รอยัล ซิลค์ คลาส ตัวเก้าอี้โดยสารมีความกว้าง 20 นิ้ว สามารถปรับเอนนอนราบได้ 180 องศา การเดินเข้า-ออกจากที่นั่งสามารถทำได้อย่างเป็นอิสระในทุกที่นั่ง ซึ่งจะไม่รบกวนผู้โดยสารในที่นั่งติดกัน รวมทั้งทุกที่นั่งมีการติดตั้งจอโทรทัศน์ระบบสัมผัสขนาด 15 นิ้ว นอกจากนี้ ยังมีบริการ รอยัล ซิลค์ คลาส บาร์ เพื่อบริการอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ

ในส่วนของชั้นประหยัด หรือ Economy Class มีที่นั่งถูกออกแบบใหม่ เน้นสีสันเอกลักษณ์เพิ่มความสะดวกสบายกว้างขวางด้วยระยะห่างระหว่างแถวกว้าง 32 นิ้ว เบาะที่นั่งมีความกว้าง 18 นิ้ว ทุกที่นั่งติดจอภาพส่วนตัวขนาด 10.6 นิ้ว ช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะที่มีขนาดใหญ่ ใส่กระเป๋าได้หลายใบ พร้อมปลั๊กไฟสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า และช่อง USB สำหรับเชื่อมต่อกับแฟลชไดรฟ์ หรือชาร์จอุปกรณ์สมาร์ทโฟน



ในส่วนของระบบสาระบันเทิงบนเครื่องบิน ( In-Flight Entertainment) ภายในเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 ของการบินไทย เป็นระบบที่มีความทันสมัย ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความผ่อนคลายมากที่สุดตลอดระยะเวลาการเดินทาง รวมทั้งยังได้ติดตั้งระบบสื่อสาร ( In-Flight Connectivity) เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวได้ เชื่อมระบบอินเทอร์เน็ต ผ่าน GPRS หรือจะใช้สัญญาณ Wi-Fi เชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้โดยสารการบินไทยมั่นใจว่าจะไม่พลาดข้อมูลสำคัญระหว่างการเดินทาง

       ระหว่างนี้ใครอยากสัมผัสกับความใหญ่โต หรูหรา โอ่อ่า สะดวกสบาย ยังพอมีเวลาสำหรับเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ฮ่องกง ที่จะได้นั่งเครื่อง A380 เพราะหลังจากนี้จะถูกนำไปใช้ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-แฟรงก์เฟิร์ตต่อไป.






























โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
3 พฤศจิกายน 2555, 10:00 น.

1/11/55

ผลสอบบาลีประโยค ป.ธ. 9 ผ่าน 63 รูป ปี 43

พระเมธีปริยัติวิบูล (ดร.พระมหาศิริ สิริธโร)
ลสอบบาลี ประโยค ป.ธ.9 ประจำปี 2543 มีผู้สอบผ่านทั้งหมด 63 รูป สามเณรผ่าน 10    มีรายชื่อผู้ส่งเข้าสอบทั้งหมด 168 รูป   ขาดสอบ 6 รูป  คงสอบ 162 รูป  สอบได้ 63 รูป  สอบตก 99 รูป คิดเป็น % ที่สอบได้ 38.89 %  สำหรับรายชื่อผู้สอบผ่านมีดังนี้

1. พระมหาวชิราวุธ วชิรเมธี          วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเพทฯ
2. พระมหาอภิชัย อิสฺสรเมธี          วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
3. พระมหานิมิตย์ ปณฺฑิตเสวี        วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
4. พระมหามานะ ญาณสิริ             วัดบพิตรพิมุข กรุงเพทฯ
5. พระมหาบรรหาร ชยานนฺโท      วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
6. สามเณรอาทิเช่น นาขันดี         วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
7. พระมหาบุญร่วม อตฺถกาโม        วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
8. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี            วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ  (ว. วชิรเมธี)
9. พระมหาศุภเดช ชาตเมธี          วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ
10. พระมหาโยธิน ปริปุณฺโณ        วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพฯ
11. พระมหาขวัญชัย วชิรญาโณ    วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ
12. พระเมธีปริยัติวิบูล  ดร.พระมหาศิริ สิริธโร  วัดยานนาวา กรุงเทพฯ  (ปัจจุบัน รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรี  ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม
13. สามเณรกวิพัฒน์ สุขแจ่ม        วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
14. สามเณรณัทธกร ศรีคำม้วน      วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ
15. พระมหาทศพล กตปุญฺโญ       วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
16. พระมหาชัยศรี กิตฺติปญฺโญ      วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ
17. พระมหากายสิทธิ์ สิทฺธาภิภู     วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ
18. สามเณรเกียรติศักดิ์ บังเพลิง   วัดสร้อยทอง กรุงเทพฯ
19. สามเณรประภาส โรจชยะ        วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
20. พระมหายงยุทธ สนฺตจิตฺโต     วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
21. พระมหาธัช สุภทฺโท               วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
22. พระมหาสายชล สุธีโร             วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
23. พระมหาวชิร ภทฺรภาณี            วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
24. พระมหาสุธี ธีรญาโณ              วัดใหม่อมตรส กรุงเทพฯ
25. พระมหาประสระ สมาจาโร       วัดสวนพลู กรุงเทพฯ
26. พระมหาบุญจันทร์ อคฺคธมฺโม   วัดกาญจนสิงหาสน์ กรุงเทพฯ
27. พระมหามนูญ วิสุทฺธิปญฺโญ     วัดบุญยประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
28. พระมหาบุญส่ง กลฺยาโณ         วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
29. พระมหานิรมิตร กิตฺติมิตฺโต      วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
30. พระมหาธเนส ธเนโส             วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
31. สามเณรทิตติ ต่วนโต             วัดปากน้ำ กรุงเทพฯ
32. พระมหาเจริญสุข คุณวีโร        วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
33. พระมหาปิยะวัฒน อภิวฑฺโฒ    วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
34. พระมหาประกอบ วรวุฑฺฒิ        วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
35. สามเณรวิเชียร เตสะ              วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ
36. พระมหาขวัญ ถิรมโน              วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
37. พระมหาอภิชัย อภิชโย           วัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพฯ
38. พระมหากำพล คุณงฺกโร         วัดใหม่ผดุงเขต จ. นนทบุรี
39. พระมหาคลองธรรม ธมฺมาโภ   วัดชลประทานรังสฤษฏ์ จ. นนทบุรี
40. สามเณรฟ้าหยาด มุละสีวะ      วัดละหาร จ. นนทบุรี
41. พระมหาธงชัย สารชโย           วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
42. พระมหาพรชัย วรชโย             วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
43. พระมหาสุพล สุพโล               วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
44. พระมหาเพชรกล้า สิริมนฺโต     วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
45. พระมหาลักษณะ กิตฺตญาโณ   วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
46. พระมหานิพนธ์ ฌานธโช        วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
47. สามเณรปิยะ จันดาดาล         วัดโปรดเกศเชษฐาราม จ. สมุทรปราการ
48. พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน   วัดเสนาสนาราม จ. พระนครศรีอยุธยา
49. พระมหาลำใย สุวฑฺฒโน         วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
50. พระมหานงมานิช สามตฺถิโก    วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
51. พระมหาอานนท์ ชวนาภิภู       วัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
52. พระมหาไพบูลย์ วิปุโล           วัดแจ้งพรหมนคร จ. สิงห์บุรี
53. พระมหาอุดมเขตต์ สิริคุตฺโต   วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ. สิงห์บุรี
54. พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี           วัดจองคำ จ.ลำปาง
55. สามเณรชาคริต บำเพ็ญ         วัดพิชโสภาราม จ. อุบลราชธานี
56. พระมหาอภัย ฐิตวิริโย             วัดบูรพารามใต้ จ. ยโสธร
57. พระมหาราชวัติ อตฺถวิญฺญู       วัดบึง จ. นครราชสีมา
58. พระมหากิติวัฒน์ กิตฺติเมธี       วัดสะแก จ. นครราชสีมา
59. พระมหารุ่งโรจน์ ฐิตโรจโน      วัดเทพนิมิตร จ. ฉะเชิงเทรา
60. พระมหาสมทบ เมตฺติโก          วัดใหญ่อินทาราม จ. ชลบุรี
61. พระมหาขนบ สหายปญฺโญ     วัดท่าคอย จ. เพชรบุรี
62. พระมหาภูริณัฏฐ์ ญาณเมธี      วัดขันเงิน จ. ชุมพร
63. พระมหาธีรวัฒน์ สุภาจาโร      วัดชัยมงคล จ.สงขลา

ความคิดเห็นล่าสุดจากผู้เข้าเยี่ยมชม

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger